ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ปฎิรูปประเทศด้วยการกีดกัน สวนทางหลักการ “ประชารัฐ”
19 เม.ย. 2559

          " พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ได้ กล่าวถึงแนวทางประชารัฐว่า .......ในเพลงชาติไทยมีคำว่าประชารัฐ ไม่ใช่ประชานิยม วันนี้เป็นความพยายามเปลี่ยนประชานิยมเป็นประชารัฐให้ได้ ผมไม่ได้ทะเลาะกับใคร เพียงแต่จะทำอย่างไรให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ด้วยมือของเราเอง ไม่มีใครทำไม่ได้นอกจากสองมือของท่านเอง รัฐบาล ข้าราชการเป็นเพียงผู้นำพาเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงประชาชนด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ให้แนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างอดีตเช่น บ้าน วัด โรงเรียน ดังนั้น เราต้องใช้คนในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์

          แต่คำกล่าวข้างต้นนั้นช่าง “ย้อนแย้ง”กับการปฏิบัติจริงเสียนี่กระไร เพราการจะให้เกิดประชารัฐต้องมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน เอกชน ประชาชน รัฐ ข้าราชการต้องได้รับการพัฒนาไปพร้อมพร้อมๆกัน แต่เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2559 ที่ผ่านมา นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงมติครม.เรื่องการพัฒนาบุคลากรในภาครัฐเพื่อรองรับการปฏิรูปประเทศ ระบุว่า ด้วยในการประชุมครม.เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2559 ครม.ได้มีมติว่าเนื่องจากในปัจจุบันเป็นช่วงเตรียมการเข้าสู่การปฏิรูปประเทศ และมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

          ดังนั้น จึงขอให้หน่วยงานของรัฐ ที่จัดหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ โดยใช้งบประมาณของทางราชการ ชะลอการรับภาคเอกชนและข้าราชการที่เกษียณอายุไว้ก่อน ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้เข้ารับการอบรมและพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่เพื่อรองรับการปฏิรูปให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

          สำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมที่เอกชนนิยมเข้าเรียน น่าจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.), ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง(บยส.) ของสำนักงานศาลยุติธรรม, หลักสูตรนิติธรรมทำเพื่อประชาธิปไตย(นธป.) ของศาลรัฐธรรมนูญ,หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.)ของสถาบันพระปกเกล้า,หลักสูตร "นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง” (นยปส.)ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.),หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)

          มติ ครม.ที่ห้ามข้าราชการเกษียณและเอกไม่ให้เข้าอบรมในหลักสูตรต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐจัดขึ้น ไม่ได้ช่วยตอบโจทย์การพัฒนาข้าราชการไทย หรือตอบโจทย์การปฎิรูปประเทศไทยแต่อย่างใด ในทางกลับกันได้ปิดกั้นบุคลากรอีกสองกลุ่ม ที่เป็นเป็นบุคคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ต่างๆ มากมายที่จะสามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาประเทศชาติได้

          อีกทั้งนักธุรกิจที่เข้าร่วมรับการอบรม เป็นนักธุรกิจระดับผู้บริหารระดับสูงหรือเจ้าของกิจการ ซึ่งธุรกิจเหล่านั้นก็ได้เสียภาษีรายได้จำนวนมากและทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติมาแล้วมากมาย การอบรมในหลักสูตรต่างๆ ก็จะช่วยให้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจต่องนโยบายรัฐและสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติได้มากยิ่งขึ้น การกีดกันไม่ให้คนเหล่านี้เข้าร่วมในการฝึกอบรมที่ภาครัฐจัดขึ้น น่าจะขัดกับแนวทางประชารัฐ คือรัฐร่วมมือกับเอกชนเพื่อพัฒนาประเทศชาติ

          การพัฒนาข้าราชการเพื่อรองรับการปฎิรูปที่แท้จริงจึงควรทำทั้งระบบ ไม่ใช่แค่ส่งข้าราชการมาอบรมเพิ่มในหลักสูตร ต่างๆ โดยหากยึดตามแนวทางทั่วไปคือ

          1. การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน คือ การอธิบายให้ข้าราชการเข้าใหม่เข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบสำหรับข้าราชการใน สปป.ลาว กฎการบริหารจัดการภายในองค์การ ตำแหน่ง บทบาท หน้าที่ และโครงสร้างองค์การของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบบการประสานงานและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในองค์การ

          2. การฝึกอบรมระหว่างการประจำการหมายถึง การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการเมือง ความรู้ด้านเทคนิคเฉพาะสำหรับข้าราชการ โดยดูจากผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปีและแผนการฝึกอบรม

          3. การฝึกอบรมก่อนเข้ารับตำแหน่งใหม่ คือ การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการเมือง ความรู้ด้านเทคนิคและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับตำแหน่งหน้าที่ใหม่และซับซ้อนมากขึ้น หรือการเข้ารับตำแหน่งฝ่ายบริหารในระดับที่สูงขึ้น

          และวิธีการเสริมสร้างขีดความสามารถควรจะเป็นการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการพัฒนาขั้นตอนการเรียนรู้ และเพื่อให้ได้ประโยชน์จากแต่ละวิธีการ การฝึกอบรมทั้งหมดจะพิจารณาจากการประเมินความต้องการการฝึกอบรม และครอบคลุมถึง "แผนการติดตามหลังการฝึกอบรม” ด้วย

          การแก้ปัญหา การพัฒนาบุคคลากรแบบ “ขอไปที” อย่างนี้ที่สุดแล้วคงไม่ได้ช่วยอะไร หากรัฐบาลยังขาดแผนพัฒนาที่แน่นอนชัดเจน ถ้าหากท่านมองว่า ความสามารถในการฝึกอบรมของหน่วยงานต่างๆ ยังมีน้อยไม่เพียงพอ ก็สามารถทำให้เป็นเรื่องเป็นราวได้อย่างในต่างประเทศที่มีการสร้างศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการขึ้นมา และมีหลักสูตรที่จำเป็น มีวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมาให้ความรู้ น่าจะดีกว่าการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแบบนี้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...