นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การเซ็นเอ็มโอยู 0ต่อต้านโรคโควิด- 19 ครั้งนี้ คิดว่า จะทำให้ประเทศไทยมีมั่นใจ มากขึ้น ในการต่อสู้กับโรคร้าย และการพึ่งพาตัวเอง และคิดว่าจะมีความสำเร็จ ภายใน 6เดือน น่าจะมีคำตอบ เพราะเรามี Infra structure ด้านการผลิตวัตซีนและการวิจัยอยู่แล้ว เพราะถ้าเกิดการระบาดมากจริง เราจะพึ่งคนอื่นยาก นับเป็นนิมิตรมหายที่ดีของประเทศไทย และเรายังมีบริษัท เอกชน อย่างบริษัทไปโอเนท ไทยแลนด์ ที่ทำวัคซีนระดับโลกมาแล้ว ก็จะมาร่วมกัน และนำเองค์ความรู้แต่ละองค์กรมาช่วยกัน
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีศักยภาพพัฒนาวัคซีน สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส ครั้งแรกชองโลกรองจากประเทศจีน เรามีวัตถุดิบที่จะสามารถให้หน่วยงานต่างๆไปพัฒนาวิจัยวัคซีนได้ และยังสามรถเลี้ยงเซลล์ที่มีเชื้อ ไวรัสได้สามารถนับจำนวนมันได้ ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะต้องดูว่าถ้าฉีดวัคซีนหรือให้ยาภูมิคุ้มกันแล้ว ไวรัสจะลดจำนวนลงหรือไม่ และกรมฯยังมีศูนย์สัตว์ทดลอง ที่ได้มาตรฐานระดับโลก สามารถทดลองในสัตว์ และทดลองวัดภูมิคุ้มกัน และวัดซีนได้ และยังมาตรฐานที่ควบคุมคุณภาพ
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวอีกว่า เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเชื้ออุบัติใหม่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีอันตรายร้ายแรง คณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการด้านวิชาการและด้านกฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 จึงได้เพิ่มชื่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้จำแนกเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเชื้อกลุ่ม 3 ที่จะต้องควบคุม ผู้ที่จะครอบครองต้องขออนุญาตที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หากหน่วยงานใดมีความประสงค์จะขอครอบครองเชื้อดังกล่าว จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษสัตว์ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยินดีที่จะสนับสนุนหากการศึกษาวิจัยดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษา ป้องกัน และควบคุมโรค
นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า เราจะเป็นหน่วยงานกลางรวบรวมสรรพกำลังของประเทศ ในการคิดค้นวัคซีนโควิด 19 และสถาบันมีผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน วิจัยและพัฒนาวัคซีนอยู่แล้ว ที่ผ่านมาทางสถาบันวัคซีน ยังได้ร่วมมือมือปรึกษากับประเทศ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกามาตลอด ส่วนแนวทางการคิดค้นวัคซีน จะต้องดำเนินการตามพิมพ์เขียวของขององค์การอนามัยโลก ซึ่งแนะนำให้แต่ละประเทศดูโจทย์ร่วมกัน เพื่อไม่ให้พัฒนาไม่ซ้ำซ้อนกัน แต่ต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยบางประเทศอาจจะคิดค้นได้ไกลกว่า ก็จะทำให้จึงหาโจทย์ทำงานร่วมกันก่อน