ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท่องเที่ยว ย้อนกลับ
ก.ท่องเที่ยวออกมาตรการช่วยเหลือท่องเที่ยวไทย
07 มี.ค. 2563

นายคณนาถ หมื่นหนู โฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่าจากกรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว จากการที่ถูกยกเลิกการจอง ผู้ประกอบการต่างต้องแบกรับภาระอย่างหนัก เพราะไม่มีรายรับเข้ามาแต่มีรายจ่ายสม่ำเสมอ ทั้งค่าจ้างพนักงาน และหนี้สินเงินกู้ประกอบธุรกิจ อาจจะนำไปสู่ความจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องให้พนักงานหยุดพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง เลิกจ้าง และเลิกกิจการในที่สุด หากสถานการณ์เลวร้ายยาวนาน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการการเงินและการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจปี ๒๕๖๓ ที่กระทรวงการคลังเสนอ ประกอบด้วย


 

1.    มาตรการด้านการเงิน

1)    มาตรการสินเชื่อ

1.1)      โครงการสินเชื่อ SME ประชารัฐสร้างไทย ของธนาคารออมสิน วงเงินคงเหลือ 40,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ใน 2 ปีแรก ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี โดยกำหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เป็นระยะเวลา 4 ปี

1.2)    โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) วงเงินคงเหลือ 15,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3 ต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก วงเงินต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี (ระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี)

1.3)      โครงการสินเชื่อ กรุงไทย SME ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) วงเงินคงเหลือ 55,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 4 ต่อปี วงเงินต่อรายสูงสุด 3 เท่าของหลักประกัน ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี โดยกำหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทน SMEs เป็นระยะเวลา 4 ปี

1.4)      โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ของธนาคารออมสิน วงเงินคงเหลือ 15,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินคิดดอกเบี้ยกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการอัตราร้อยละ 0.1 ต่อปี และธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการคิดดอกเบี้ยกับ SMEs ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี วงเงินต่อรายสูงสุด 50 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี (ระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี)

2)    มาตรการขยายเวลาชำระหนี้และค่าธรรมเนียม

2.1)      ธนาคารออมสิน มีมาตรการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ 2 เท่าของระยะเวลาคงเหลือตามสัญญา สูงสุดไม่เกิน 5 ปี สำหรับลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยว

2.2)    ธพว. มีมาตรการพักชำระหนี้เงินต้นสำหรับเงินกู้ยืมระยะยาวที่มีวงเงินคงเหลือไม่เกิน
5 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยต้องมีประวัติการผ่อนชำระหนี้ดีไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนวันเข้าร่วมโครงการและต้องไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loan : NPL) สำหรับ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙

2.3)      ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีมาตรการผ่อนการชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน ต่อเนื่องไม่เกิน 5 ครั้ง หรือสามารถขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้และขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ไม่เกิน 20 ปี สำหรับเกษตรกร ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร หรือกองทุนหมู่บ้านที่ประสบปัญหาในการประกอบธุรกิจมีสภาพคล่องไม่เพียงพอ หรือมีผลประกอบการขาดทุน

2.4)      ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และงวดผ่อนชำระได้ไม่เกิน 6 เดือน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี สำหรับลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ
ไวรัสโควิด - ๑๙ เช่น ไกด์นำเที่ยว พนักงานโรงแรม ผู้ประกอบการรายย่อยที่ขายสินค้าในแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

2.5)      บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีมาตรการพักการชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ 12 เดือน สำหรับลูกค้า SMEs เดิมของ บสย. สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ธุรกิจบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร และโรงแรมที่พัก

2. มาตรการด้านภาษี

1)    การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 (การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีฯ)

วัตถุประสงค์ : เพื่อช่วยเหลือผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวประกอบกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - ๑๙ ที่อาจส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจของไทย

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา

ระยะเวลาดำเนินงาน : ขยายระยะเวลา 3 เดือน (ภายในเดือนมิถุนายน 2563)

2)      มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ

วัตถุประสงค์ : เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ

กลุ่มเป้าหมาย : บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ระยะเวลาดำเนินงาน : สำหรับรายจ่ายที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

3)      มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงกิจการโรงแรม

วัตถุประสงค์ : ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้การลงทุนภาคเอกชนในกิจการโรงแรมเพิ่มขึ้นในปี 2563

กลุ่มเป้าหมาย : บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

ระยะเวลาดำเนินงาน : สำหรับรายจ่ายที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

4)       มาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น (น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินฯ)

วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวเมืองรองมากขึ้นซึ่งเป็นการกระจายรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ มาตรการลดอัตราภาษีนี้เป็นมาตรการชั่วคราว

กลุ่มเป้าหมาย : อุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย

ระยะเวลาดำเนินงาน : ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 (ประมาณ 8 เดือน)

 

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงขอให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวยึดแนวทางบรรเทาผลกระทบจากมาตรการเงินและการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจปี ๒๕๖๓ ตามมติคณะรัฐมนตรี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...