นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายและการบริหารจัดการซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ และโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดสู่ซูเปอร์มาร์เก็ต ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ ปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ พร้อมด้วยนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมทั้งคณะทำงาน ข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ทุกพื้นที่มีของดี มีเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ การสร้างตลาดและมีตลาดรองรับเพื่อจัดจำหน่าย และกระจายสินค้าการจัดตั้งซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ เป็นการขับเคลื่อนนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายสหกรณ์ผู้ผลิต ที่มี บทบาทหน้าที่บริหารจัดการ รวบรวม แปรรูป พัฒนาคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มสมาชิกเกษตรกร ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เชื่อมโยงไปสู่ผู้บริโภค โดยผ่านร้านค้าสหกรณ์เป็นจุดจำหน่าย และกระจายสินค้าตรงถึง ผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้และสร้างโอกาสในการเข้าถึงสินค้าของสมาชิก เกษตรกร จากจังหวัดต่างๆ
ทั้งนี้ ในการสร้างความร่วมมือกันดังกล่าว เพื่อให้เกิด ความยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อน ด้วยระบบการค้า ที่สร้างความเป็นธรรม ให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตั้งแต่ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค ซึ่งเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ (Profit Sharing) ลดความขัดแย้ง สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างเป็นธรรม ซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์จะมีส่วนช่วยสังคมและชุมชน ในบทบาทของผู้จำหน่ายสินค้า เกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เพื่อบริการแก่สมาชิกและชุมชน เป็นการจุดประกายให้ ผู้บริโภคได้รับรู้และเห็นคุณค่าของสินค้าที่มาจากสมาชิกเกษตรกรผู้ผลิต ด้วยการใช้ ศักยภาพของเครือข่ายสหกรณ์ผู้ผลิต และความร่วมมือของร้านค้าสหกรณ์ ในการ ร่วมกันเสริมสร้างการสหกรณ์ ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของ สมาชิกเกษตรกร รวมถึงชุมชมและสังคม ได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ในราคาที่เป็นธรรม ตามสโลแกน Fresh From Farm by Co-op สดจากฟาร์ม สู่มือท่าน ร่วมปันสุขสู่ชุมชน
"มองเห็นโอกาสในการขยายตลาดออนไลน์ในอนาคต เริ่มจากการขนส่งเล็กๆในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเองอยู่แล้วในชุมชน โดยใช้สหกรณ์จะเข้าไปสนับสนุนและให้ความรู้ อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันทั่วโลกประสบปัญหาภาวะ เศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ ประชาชนส่วนใหญ่ลดการจับจ่ายใช้สอยโดยจะใช้จ่ายในสิ่งของที่จำเป็นเพื่อการบริโภค และไม่ประสงค์ออกมาเดินตลาดหรือพบปะคนหมู่มาก เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมลดลง กระทบต่อภาคการเกษตรไทย ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของเกษตรกร และเห็นว่า มาตรการหรือเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ควรจะนามาใช้เป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของสมาชิกเกษตรกรและชุมชน ก็คือระบบสหกรณ์ โดยใช้ความ ร่วมมือกันของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง การพึ่งตนเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานของความเสมอภาค เที่ยงธรรม ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น ขอให้สร้างมาตรฐานและรักษาคุณภาพสินค้าเน้นเรื่องความสด สะอาดปลอดภัย ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค " รมช.กล่าว
นอกจากนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้คัดเลือกสหกรณ์ที่มีความพร้อมในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางและจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายและการบริหารจัดการซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ด้วย โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้แทนสหกรณ์ ที่มีร้านค้า สหกรณ์ผู้ผลิตสินค้า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดที่เกี่ยวข้อง คณะทำงานซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่โครงการ รวม 120 คน เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจร้านค้า สหกรณ์ ในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ จำนวน 28 แห่ง ซึ่งดำเนินการพัฒนาศักยภาพ และเตรียมความพร้อมให้กับสหกรณ์ผู้ผลิตเพื่อยกระดับการพัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐานและคุณภาพซึ่งนำเข้ามาจัดจำหน่ายในร้านซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ จำนวน 27 แห่ง โดยสร้างเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างสหกรณ์โดยจะนำผลสรุปจากโครงการดังกล่าวดำเนินการขยายผลในพื้นที่อื่นๆ เป็นระยะต่อไป