ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
ผู้ว่าฯ กทม. สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว รวม 34 จุดเสี่ยง ถึง 30 เม.ย. 63
27 มี.ค. 2563

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งว่า ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) อันเป็นโรคติดต่ออันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2563 ทั้งนี้เนื่องจากพบการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจ การคมนาคม และการท่องเที่ยว และมีความหนาแน่นของประชากรสูงซึ่งนับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว หากขาดการควบคุมโรคอย่างทันเวลาและไม่จำกัดการชุมนุมของประชาชนเพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดขยายไปในวงกว้างจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจึงจำเป็นต้องลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่างๆ ที่มีความเสี่ยงสูง ประกอบกับนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ในราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 และได้มีข้อกำหนดซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1 ) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ให้ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรคเป็นการชั่วคราวเพิ่มเติม จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35(1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนตการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548(ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 จึงให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 และให้ปิดสถานที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราว ดังต่อไปนี้

1.ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่อยู่ในคูหา รถเข็นและแผงลอย จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม (ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มในโรงแรมที่ให้บริการเฉพาะผู้ที่พักอาศัยในโรงแรม หรือจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น) ยกเว้นร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในบริเวณสนามบิน และโรงอาหารในโรงพยาบาล 
2.ห้างสรรพสิน้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้ มอลล์ ยกเว้นในส่วนซึ่งเป็นแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยาหรือสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ร้านอาหาร (ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น) ที่ทำการธนาคาร หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ 
3.พื้นที่นั่งหรือยืนรับประทานอาหารในร้านสะดวกซื้อ
4.ตลาดและตลาดนัด (เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ เพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ ร้านขายยา ร้านดอกไม้สด เวชภัณฑ์และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต)
5.ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม
6.สถานที่บริการสักผิวหนังหรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
7.สถานที่เล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
8.สวนสนุก สถานที่เล่นโบว์สิ่ง หรือตู้เกม
9.ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต
10.สนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
11.สระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
12.สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
13.ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา
14.ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม และสถานที่จัดนิทรรศการ
15.สถานศึกษาทุกระดับ และสถาบันกวดวิชา
17.สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกเวชกรรมในส่วนที่ให้บริการเสริมความงาม คลินิกเสริมความงาม และสถานเสริมความงาม
18.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อเสริมความงาม)
18.สถานที่ให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์
19.สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด
20.สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
21.โรงมหรสพ (โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ)
22.สถานที่ออกกำลังกาย
23.สถานบริการและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ
24.สนามมวย และโรงเรียนสอนมวย
25.สนามกีฬา
26.สนามม้า
27.สนามแข่งขันทุกประเภท
28.สนามเด็กเล่น
29.สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ
30.พิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะเดียวกัน
31.ห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดเอกชน และบ้านหนังสือ
32.สถานที่ให้บริการห้องประขุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน
33.โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด
34.สถานรับเลี้ยงเด็ก ยกเว้นสถานรับเลี้ยงเด็กในโรงพยาบาล


ทั้งนี้ สถานที่ที่ได้รับยกเว้นตามประกาศนี้ หรือสถานที่อื่นนอกเหนือจากประกาศนี้ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด และข้อ 11 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบันที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 

ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (ค) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2563 ยกเว้นสถานที่ตามข้อ 34
ให้ปิดตั้งแต่วันที่ 31มีนาคม 2563 และให้ปิดจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...