แต่โบราณมา พุทธศาสนิกชนชาวไทย ถือว่าลังกา คือแหล่งความรู้และแบบอย่างทางพระพุทธศาสนา เพราะชาวไทย รับพระพระพุทธศาสนาเถรวาทมาจากลังกา ดังที่เรียกกันว่า "พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์"หรือ พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกา ฉะนั้นพระสงฆ์ไทยในอดีตจึงนิยมไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา จนเกิดเป็นประเพณีนิยมไปสืบพระศาสนาที่ลังกา อันหมายถึงการไปศึกษาพระพุทธศาสนาและลัทธิพิธีทางพระพุทธศาสนาที่ลังกา เพื่อนำมาประพฤติปฏิบัติและเผยแพร่ให้เจริญรุ่งเรืองในบ้านเมืองของตน ซึ่งนับว่าเป็นบุญกุศลเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาทางหนึ่งตั้งแต่ยุคสุโขทัยเป็นต้นมาคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวไทยจึงมีความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนากับลังกาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องมามิได้ขาด จนกระทั่งถึงยุครัตนโกสินทร์ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการส่งสมณทูตไปเจริญศาสนไมตรีกับลังกา ครั้งแรกในรัชกาลที่ 2 มาในรัชกาลที่ 3 พระสงฆ์และคฤหัสถ์ชาวลังกาได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับคณะสงฆ์ไทยมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมอบหมายให้ทูลกระหม่อมพระ ขณะครองวัดบวรนิเวศวิหารรับหน้าที่รับรองดูแลคณะสงฆ์ลังกาในทางราชการเสมอมาเพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรวมทั้งพระภิกษุ ศิษย์หลวงที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยมากพูดภาษามคธและภาษาอังกฤษได้ จนทางวัดบวรนิเวศวิหารต้องจัดเสนาสนะไว้สำหรับรับรองคณะสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่าคณะลังกา
ในรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดให้ทูลกระหม่อมจัด สมณทูตไปลังกาถึง 2 ครั้ง มาในรัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้จัดสมาทูตไปลังกาอีกครั้งหนึ่งซึ่งนับเป็นสมณฑูตเป็นทางราชการคณะสุดท้ายของไทยที่ไปเจริญศาสนไมตรีกับลังกา