นายจรินทร์ จักกะพาก อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อน ฟื้นฟูความเชื่อมั่นควบคู่กับการสร้างเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ. 2557 – 2560) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่างๆ จำนวน 7 ยุทธศาสตร์ โดยในยุทธศาสตร์ที่ 2 นั้น ได้ระบุถึงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษา และเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนยุทธศาสตร์ดังกล่าว กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้กำหนดให้มีโครงการ “โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ( Local Sufficiency School : LSS ) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และบูรณาการการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนใน 5 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 ด้านสังคม มิติที่ 2
ด้านวัฒนธรรม มิติที่ 3 ด้านเศรษฐกิจ มิติที่ 4 ด้านสิ่งแวดล้อม และมิติที่ 5 ด้านการเกษตร ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมให้กับพลเมืองของสังคมในรุ่นต่อไปให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชนที่กำลังอยู่ในวัยศึกษาให้ได้รับการบ่มเพาะ และปลูกฝังวิธีคิดและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวเพิ่มเติมว่า
แนวทางในการคัดเลือก “โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ( Local Sufficiency School : LSS ) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ให้จังหวัดดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการบริหารการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (School Based Management For Local Development : SBMLD) จำนวน 1 โรงเรียนและคัดเลือกโรงเรียนที่มีความสมัครใจ 1 โรงเรียน