นพ.ม.ล.ทยา กิติยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาดังนี้
เข้าใจว่าตอนนี้ทุกคนเทความคิดไปกับการเปิดเมือง
แต่..
เราจะทำยังไงดีกับคนที่สงสัยว่าติดเชื้อ COVID19 แต่กักตัวเองที่บ้านไม่ได้? -เพราะนี่ก็เป็นปัญหาที่ต้องแก้พอเปิดเมือง.. เพราะการติดเชื้อจะเพิ่มมากขึ้น
ไม่ใช่ทุกคนที่กักตัวเองแยกจากคนอื่นได้..
..(อาจจะเพราะเขาอยู่บ้านกับครอบครัว ที่มีพ่อแม่ปู่ย่าตายายที่อายุมาก หรือเป็นแค่ห้องเล็กๆ ..หรือไม่เขาหาเช้ากินค่ำต้องออกไปหาเงิน? )
ถ้าปล่อยไว้ให้อยู่ในชุมชน ก็จะเป็นการปล่อยให้แพร่เชื้อต่อไปไหม? แต่จะทำยังไงดี?
เงินที่จะไปเช่าโรงแรมเพื่อกักตัวเองก็ไม่มี
State quarantine ก็ใช้เพื่อกักคนที่กลับมาจากต่างประเทศ
จะให้เขาไปอยู่ที่รพ.? ทั้งๆ ที่อาจจะไม่ติดโรคมา และไปใช้เตียงที่ธรรมดาต้องใช้รักษาคนป่วยโรคอื่น? (..แถมอาจจะไปเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อให้บุคลากรการแพทย์ และคนไข้คนอื่นอีก? )
ทำไงดี??
ถ้าสามารถช่วยแยกคนกลุ่มนี้ได้ ที่สงสัยว่าติดเชื้อ (PUI) ออกจากชุมชนของเขา ก็จะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อได้ ..
และยิ่งมีการแพร่กระจายในชุมชนมากก็ยิ่งมีคนไข้ที่มีอาการจำนวนมากขึ้น ทะลักเข้ามาในรพ.ในที่สุด
คิดว่าคำตอบอันหนึ่ง คือการจัดตั้ง ศูนย์กักแยก ในแต่ละจังหวัด(หรือพื้นที่ย่อย) ที่จะให้คนที่สงสัยเข้าไปกักตัวได้ โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ..และที่มีการเข้าไปช่วยตัวเขาและครอบครัวระหว่างการกักแยกด้วย (เช่นเรื่องอาหาร หรือการดูแลครอบครัว)
อีกอย่าง ถ้ามีทางออกให้คนกลุ่มนี้แยกตัวออกจากชุมชน เขาก็จะกล้าแสดงตัวมากขึ้น เพราะไม่งั้น แสดงตัวแล้วไง? ทำอะไรก็ไม่ได้ แค่โดนคนรอบข้างรังเกียจและต่อว่า
นอกจากนั้น การตรวจเชื้อหรือการ test ถ้าตรวจไม่พบเชื้อ ก็อาจจะไม่ได้แปลว่าไม่มีเชื้อนะ (เพราะไม่มีการตรวจที่แม่นยำ 100%!) แล้วกลุ่มนี้ ที่ตรวจไม่พบเชื้อแต่มีประวัติน่าสงสัย จะไปไหน? ไปอยู่ที่รพ.ก็อาจจะไม่ได้ เพราะยังตรวจไม่พบเชื้อ
กลับมาปัญหาเดิม ถ้ากักตัวที่บ้านไม่ได้แล้วทำยังไงดี ?
ก็ต้องบอกว่า มีการตั้ง ศูนย์กักแยกแบบนี้เป็นต้นแบบแล้วครับ
.. เป็นการร่วมมือหลายฝ่ายครับ แต่ต้องขอชื่นชมทาง TIJ กับ RoLD ที่มองเห็นปัญหา และทุ่มแรงทุ่มน้ำใจช่วยกันจัดตั้งขึ้น ทั้งๆที่มีความยากลำบากเพราะตอนเริ่มทำปัญหานี้ ถือว่าเป็นปัญหาที่ตกร่องระหว่างหลายหน่วยงาน
แต่ตอนนี้จะเปิดเมืองแล้ว.. การติดตาม/ตรวจและกักแยกยิ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อลด second wave ที่จะตามมา
ก็ขอขอบคุณที่ทางทีมให้ผมมีส่วนร่วม(แม้จะช่วยได้แค่นิดเดียว. ..credit จริงต้องให้ Kittipong Kittayarak
พี่ปุ้ย พี่ดาว พี่หนิง กับพี่ตั้ม และพี่ๆเพื่อนๆ ใน RoLD ที่ช่วยๆกัน )
ขอแชร์คลิปที่อาจจะช่วยให้เข้าใจศูนย์กักแยกตัวอย่างมากขึ้นนะครับ
อยากเห็นศูนย์กักแยก สำหรับคนที่ควรแยกแต่แยกไม่ได้ เพิ่มขึ้น