ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กรมปศุสัตว์ประชุมกำหนดงานให้ได้มาตรฐานสากล มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์สูงสุด
28 เม.ย. 2563

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านวิชาการและกายภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสัตว์ พร้อมด้วย รศ.วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ น.สพ.ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ นางสุภาพร พิมลลิขิต นายทันพงศ์ ชุณหสวัสดิกุล นายสุเมธ กมลนรนาถ รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และแผน ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์และวิจัย และผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์และวิจัย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการและกายภาพ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสัตว์ เพื่อจัดทำนโยบาย แผนแม่บท และแนวทางการดำเนินงานด้านวิชาการและการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตสัตว์ขององค์การสวนสัตว์ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมรวบรวมสัตว์นานาชนิดไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและอำนวยบริการแก่ประชาชน ส่งเสริมการจัดการให้มีการบำรุงและผสมพันธุ์สัตว์ต่างๆ เพื่อมิให้สูญพันธุ์

ดำเนินการเกี่ยวกับสถานที่เลี้ยงสัตว์ขององค์การ ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง พัฒนาวิชาการและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสวนสัตว์ให้เป็นไปตามนโยบายขององค์การสวนสัตว์ที่ทันสมัยชั้นนำในระดับสากลสู่ความเป็นเลิศในอนาคต ตามหลักปฏิบัติของยุทธศาสตร์ของสมาคมสวนสัตว์และอควาเรียมโลก (World Association of Zoos and Aquariums: WAZA) และเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานขององค์การสวนสัตว์ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกำหนด พัฒนาภาคีเครือข่ายด้านวิชาการ กายภาพ สภาพแวดล้อมและพัฒนาชีวิตสัตว์

2. ผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการฯ องค์การสวนสัตว์ พ.ศ.2560-2562 เน้นการบูรณาการการดำเนินงานด้านวิชาการและกายภาพ

3. สรุปการดำเนินงานโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ ณ พื้นที่พระราชทานจำนวน 300 ไร่ ธัญบุรี คลอง 6 รังสิต มีแนวคิดเป็นแหล่งเรียนรู้ศาสตร์พระราชา เป็นต้นแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งนันทนาการของประชาชน ทันสมัยและแทนไทย เน้นการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ จัดภูมิทัศน์ให้ตรงตามแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของสัตว์ ประหยัดพลังงานใช้ทรัพยากรน้อย (Green Zoo) ได้มาตรฐานสากลและสอดคล้องตามหลักสุขภาพหนึ่งเดียว One Health

4. แนวทางและการดำเนินงานด้านวิชาการ และการพัฒนาชีวิตสัตว์

5. มาตรการป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness: AHS) ขององค์การสวนสัตว์ จากการสำรวจมีสัตว์ตระกูลม้าทั้งหมด 73 ตัว ได้ดำเนินการสร้างมุ้งกันแมลงพาหะ การสุ่มเก็บตัวอย่างเลือดในสัตว์ที่อยู่พื้นที่กลุ่มเสี่ยงที่เป็นรังโรคเพื่อเฝ้าระวังเชิงรุก ประเมินความเสี่ยงและซีโรไทป์ของโรค เข้มงวดการตรวจสอบทั้งตัวสัตว์และรถขนอาหาร การประชุมหารือวางมาตรการแผนดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การสวนสัตว์ได้มาตรฐานสากล มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์สูงสุด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...