ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
นักวิชาการไทย เผยโลกเข้าสู่วิกฤตอาหาร ย้ำไทยคือผู้ผลิตอาหารรายใหญ่
29 เม.ย. 2563

สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย ชี้ข้อมูลวิกฤตอาหารขาดแคลนทั่วโลกและไทย ร้องรัฐบาลควรสนับสนุนเกษตรกร สนับสนุนผู้ผลิตอาหาร หยุดซ้ำเติมจากปัญหาภัยแล้ง โควิด-19 และการออกกฏระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวยต่อภาคเกษตรกรรมและสร้างความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน  

ดร. กิตติ ชุณหวงศ์ นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ความมั่นคงทางอาหาร เป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังเผชิญและท้าทายความสามารถของภาครัฐเพื่อความอยู่รอดของประชากรในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา กำลังเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเป็นผลจากวิกฤตด้านพลังงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการลดความสำคัญของการผลิตพืชอาหาร ทำให้ราคาพืชอาหารสูงขึ้น อีกทั้งยังมาเจอกับการระบาดของโรคติดต่อ เช่น โควิด-19 จนทำให้ประชากรที่รายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้

ดังนั้น ทั่วโลกจึงได้แสวงหาแนวทางการพัฒนาเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม ให้สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอ ในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพื่อประสิทธิผลการผลิต ได้แก่ การชลประทาน การใช้พืชพันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตสูง การใช้เครื่องจักรกล และการใช้ปัจจัยการผลิต มาช่วยในการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ในปริมาณมากพอต่อการบริโภค สำหรับปัจจัยการผลิตที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน คือ สารเคมีเกษตร ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ยา สารช่วยปกป้องผลผลิต สาช่วยการเจริญเติบโต ช่วยทนต่อสภาพแล้ง หรือน้ำท่วม ล้วนแต่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารทั้งสิ้น

สำหรับการผลิตพืชผลการเกษตรในประเทศไทย ในระดับการผลิตแบบอุตสาหกรรมยังต้องมีการใช้ปัจจัยการผลิตเหล่านี้ แต่ดูเหมือนล่าสุดทางภาครัฐก็ยังเดินหน้าในการแบนสารเคมี สมาคมฯ ได้ออกมาให้ความเห็นหลายครั้งเรื่องการที่ภาครัฐจะยกเลิกการใช้สารพาราควอต ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันความเสียหายและเพิ่มผลผลิตให้แก่ภาคเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก อีกทั้งยังจำเป็นในสภาวะที่ต้องหาปัจจัยการผลิตมาลดต้นทุนเกษตรกร จากข้อมูลล่าสุดยืนยันโดยกรมวิชาการเกษตร ยังไม่มีสารและวิธีการอื่นใดมาทดแทนพาราควอตได้ อีกทั้ง องค์การอนามัยโลก (WHO : World Health Organization) สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (US EPA : United States Environmental Protection Agency) และนักวิทยาศาสตร์องค์กรอิสระหลายแห่ง ได้ศึกษาเกี่ยวกับพาราควอตมานานกว่า 4 ทศวรรษ พบว่า ไม่มีความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อตกลงสู่ดินจะถูกดินยึดจับไว้แน่น ไม่ไหลลงสู่แหล่งน้ำ รากพืชไม่สามารถดูดซึมได้ ที่สำคัญมีรายงานฉบับใหม่ล่าสุดของ US EPA ที่เพิ่งสรุปออกมา ระบุว่า “พาราควอต” ไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ ไม่มีความเชื่อมโยงกับโรคพาร์กินสัน ไม่มีความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ และระบบการสืบพันธุ์

ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังหาแนวทางสร้างความมั่นคงต่ออาหาร ด้วยการนำปัจจัยการผลิตมาใช้ให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยสูงสุด การยกเลิกการใช้สารกำจัดวัชพืช พาราควอต นับเป็นความเสี่ยงสูงของไทย ที่จะส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายหลายด้านต่อภาคเกษตรอุตสาหกรรม ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน เกษตรกรไทยกำลังเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง หนี้สินเกษตรกร และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อภาคการผลิต การบริโภคในประเทศ การส่งออก และรายได้ของเกษตรกร โดยเฉพาะปัญหาแรงงานภาคการเกษตร หายากและค่าแรงสูง เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถใช้เครื่องจักรกลได้ โดยกลุ่มพืชเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหากเลิกใช้พาราควอต ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา

“สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย ได้มีการศึกษาและทำการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม ประมาณการณ์ผลผลิตในพืชเศรษฐกิจอาจสูญหายสูง 97 ล้านตัน ทำให้รายได้เกษตรกรหายไปเป็นมูลค่าสูงถึง 1.9 แสนล้านบาท ส่งออกกระทบโดยตรง 41.46 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ารวมกระทบส่งออกตรงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง มูลค่า 6.5 แสนล้านบาท ดังนั้น เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาภาคเกษตรอุตสาหกรรม ให้สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอมีความมั่นคงต่อการบริโภคของประชากรในประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น นำรายได้เข้าสู่ประเทศ จึงอยากให้รัฐบาลหันมาช่วยเหลือและสนับสนุนการผลิตภาคเกษตรอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง และปกป้องสินค้าเกษตรและเกษตรกรไทยด้วย เพราะอีกกว่า 80 ประเทศทั่วโลก และประเทศคู่ค้า และคู่แข่ง อาทิ อเมริกา บราซิล ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และญี่ปุ่น ยังใช้ พาราควอต เหมือนเกษตรกรไทย อย่าซ้ำเติมด้วยการทำลายโอกาสการแข่งขันในการส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อนำรายได้เข้าประเทศเลย เพราะตั้งแต่วันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ไทยถูกสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) คิดเป็นมูลค่ารวมสูงถึง 1.8 พันล้านบาท เราสูญเสียมากแล้ว” ดร. กิตติ ชุณหวงศ์ กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...