กรุงเทพฯ, สถิติของเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดนโคอาลาไห่โก้วระบุว่า ในเดือนมีนาคมที่ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะฉุกเฉิน ปริมาณการซื้อจากประเทศไทยในเว็บไซต์โคอาลาไห่โก้วเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60.8 จากเดือนก่อนหน้า สินค้าบางประเภทเช่นผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว ของใช้ในบ้าน อุปกรณ์ความสวยความงาม ผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและดูแลสุขภาพ มียอดสั่งซื้อมากกว่าปีก่อน 1-4 เท่า
ยอดการซื้อของแพลตฟอร์มโคอาลาจากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และประเทศอื่นๆ ในเดือนมีนาคมเติบโตถึงร้อยละ 152 ส่วนในช่วงกิจกรรม “ฉลองปีใหม่รอบสอง” ของเว็บไซต์เหอหม่าในปลายเดือนมีนาคม ยอดจำหน่ายทุเรียนของเว็บไซต์พุ่งขึ้นถึง 11 เท่า
ในขณะที่อุตสาหกรรมต่างๆ นับร้อยแห่งเผชิญภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ แต่การจำหน่ายทางออนไลน์ในจีนและประเทศในภูมิภาคอาเซียนกลับเติบโตสวนทาง ระบบอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดนช่วยกระตุ้นห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคอาเซียน
ในขณะที่การบินพลเรือนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หยุดชะงัก การขนส่งโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนได้รับผลกระทบหนัก “ลาซาด้า” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซในสังกัดของบริษัทอาลี จับมือกับเครือข่ายขนส่งนานาชาติ “ไช่เหนี่ยว”เปิดเที่ยวบินเหมาลำ กลายเป็นหนึ่งในเครือข่ายขนส่งจำนวนไม่มากที่ยังดำเนินกิจการอยู่ในขณะนี้ และดำเนินการขนส่งสินค้าอี-คอมเมิร์ซและอุปกรณ์ต้านไวรัสไปยังประเทศและภูมิภาคต่างๆ กว่า 100 แห่งทั่วโลก
งานเทศกาลผลไม้แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เว็บไซต์เหอหม่าจัดขึ้นในเดือนเมษายน พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์นำเข้ากว่า 1,200 ชนิด ในจำนวนนั้น ผลไม้ไทยอาทิ ทุเรียน ลองกอง สับปะรด และมะพร้าวขายดีเป็นพิเศษ ประมาณการว่าจะมียอดจำหน่ายแตะถึง 100 ล้านหยวน (ประมาณ 464 ล้านบาท)