นริศขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เฟสบุคว่า กรณีจากรายงานข่าวถึงความพยายามในการฟื้นฟู "การบินไทย" ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางความกังวลของหลายฝ่าย ว่าจะอีหรอบเดิมอีก คือสูญเงินไปเปล่าๆ หรือทำให้การขาดทุนสะสมมากเข้าไปอีก เพราะการบินไทยขาดทุนมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ยกตัวอย่าง ปี 2562 ขาดทุนไป 12,017 ล้านบาท มาถึงปีนี้ 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 คาดว่าขาดทุนถึงเกือบ 60,000 ล้านบาท ในกรณีต้องหยุดบินถึงเดือนมิถุนายน 2563
รมช.คมนามคม นายถาวร เสนเนียม ผู้รับผิดชอบบริหารรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ ได้เห็นปัญหาจึงต้ังกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อตรวจสอบปัญหาการบริหารที่ทำให้การบินไทยมีขาดทุน พร้อมกับข่าวการบินไทยเสนอแผนฟื้นฟู โดยจะขอให้ ครม.อนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้การบินไทย วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท เพื่อชำระหนี้ที่ครบกำหนดชำระในปีนี้ ส่วนที่เหลือจะเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน รวมถึงการจ่ายเงินเดือนพนักงาน ส่วนแผนฟื้นฟูการบินไทยระยะที่ 2 คือ การเพิ่มทุน 8 หมื่นล้านบาท และการปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่
แสนล้านบาท แต่แผนหื้นฟูดังกล่าวเกิดความไม่มั่นใจจากหลายฝ่าย แม้แต่นายกรัฐมนตรีเอง จนถึงได้พูดว่าการฟื้นฟูครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการให้
ผมเองเห็นด้วยกับการช่วยพยุงการบินไทยเพื่อให้ยังคงดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ แต่ควรฟังการวิพากษ์วิจารณ์ และข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย หากพบว่าปัญหาใหญ่เกิดจากการบริหารผิดพลาด ก็ให้เฟ้นหามืออาชีพเข้ามาบริหาร เพราะหลายรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยที่บริหารโดยคนไทยก็มีกำไร เช่น ปตท. การประปานครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ธนาคารออมสิน หากพบว่าปัญหาเกิดจากการทุจริต ก็ให้ตั้งบอร์ดที่การันตีความซื่อสัตย์สุจริตในระดับนายนาม ยิ้มแย้ม นายวิชา มหาคุณ หรือต้องประมาณนี้ หากจะตั้งกรรมการขึ้นมาหาข้อเท็จจริงในประเด็นทุจริตก็ต้องระดับไม้บรรทัดเรียกพี่ อย่างนางสาวสุภา ปิยะจิตติ นางสุวณา สุวรรณจูฐะ หรือ พล.ต.อ. สถาพร หลาวทอง คนใดคนหนึ่งต้องอยู่ในกรรมการ หรือจะบุคคลภายนอกถ้ากล้าพอ ก็ลองตั้งนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ นายวัชระ เพชรทอง หรือ นายวีระ สมความคิด หรือให้บุคคลในภาคประชาชนเข้ามาร่วมตรวจสอบให้มากขึ้น เพราะ " ฟื้นฟูการบินไทย ต้องใช้ยาแรง"
และในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เชื่อมั่นในระบบรัฐสภา เชื่อว่ากรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร (กมธ.)ทำเรื่องนี้ได้ดีในหลายคณะ นอกเหนือจาก กมธ. คมนาคม ที่รับผิดชอบตรงอยู่แล้ว หรือจะให้ตั้ง กมธ. วิสามัญขึ้นมาพิจารณาศึกษาเรื่องนี้เป็นการเฉพาะก็ไม่เลวครับ เพื่อให้การบินไทยยังอยู่คู่ประเทศไทย (โดยไม่ขาดทุน)