ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
โมเดล“เกษตรอุตสาหกรรมทันสมัย” หวังปั้นไทยเป็น“โรงงานอาหารโลก”
20 ส.ค. 2563

“เฉลิมชัย” เร่งสร้างโอกาสสู้วิกฤติโควิด เดินหน้าโมเดล “เกษตรอุตสาหกรรมทันสมัย” ระดมพลเดินเครื่องปั้นไทยเป็น “โรงงานอาหารโลก” เตรียมถกสภาอุตสาหกรรมแปลงโรงงานเก่าเป็น“ฟู้ดแฟคตอรี่”

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ตามที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เพื่อเดินหน้าโมเดล “เกษตรอุตสาหกรรมทันสมัย” โดยตกลงใน “5 กรอบความร่วมมือ 4 เป้าหมาย 1 แผน” ในการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 นั้น ในการประชุมครั้งที่ 2 ของ กรกอ. จะมีการพิจารณาแนวทางสร้างโอกาสในวิกฤติโควิดภายใต้แนวคิดส่งเสริมและพัฒนาประเทศไทยเป็นฟู้ดแฟคตอรี่ของโลก (โรงงานอาหารโลก) โดยปรับเปลี่ยนโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องปิดตัวเองลงจากพิษโควิด-19 ให้กลายเป็นโรงงานผลิตอาหาร

ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมกับศูนย์ AIC สมุทรปราการ ชลบุรี และฉะเชิงเทราที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ซึ่งพบว่ามีโรงงานเอสเอ็มอีจำนวนมากประสบภาวะขาดทุนและปิดกิจการจากพิษโควิด19 รวมทั้งมีคนตกงานจำนวนมาก ดังนั้น จึงเกิดความคิดร่วมกันในการแก้ปัญหาและพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนอาหาร ซึ่งจะเชิญหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมประชุมด้วย ประกอบด้วย หอการค้าไทย สภาผู้ส่งออก สมาคมธนาคารไทย สมาพันธ์ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์ AIC)

สำหรับ “5 กรอบ 4 เป้าหมายและ 1 แผน” ได้แก่ กรอบความร่วมมือด้าน “การผลิต การแปรรูป การตลาด เทคโนโลยีและโลจิสติกส์”เพื่อบรรลุเป้าหมาย 4 เพิ่ม คือ “เพิ่มรายได้เกษตรกร เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มจีดีพีประเทศ และแผนพัฒนาภาคการเกษตรในระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง บน 5 คลัสเตอร์ทางการเกษตร ได้แก่ คลัสเตอร์ผลไม้ คลัสเตอร์ประมง คลัสเตอร์พืชพลังงาน คลัสเตอร์พืชสมุนไพร และคลัสเตอร์พืชมูลค่าสูง สอดรับกับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่และยุคโควิดเพื่อเร่งต่อยอดภาคเกษตรด้วยโมเดล “เกษตรอุตสาหกรรมทันสมัย”

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) ว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรใน EEC ซึ่งกระทรวงเกษตรฯมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นหน่วยงานประสานหลักจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ EEC ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อเป็นกรอบพัฒนาภาคเกษตรให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในพื้นที่ EEC เป้าหมายแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ EEC มุ่งพัฒนาภาคเกษตรให้เกิดรายได้ไม่น้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นต้นแบบพัฒนาด้านเกษตรสมัยใหม่ของประเทศ ตามแนวคิดตลาดนำการผลิต (Demand pull) และขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี โดยจะสนับสนุนพัฒนาคลัสเตอร์สินค้าสำคัญ ได้แก่ คลัสเตอร์ผลไม้ คลัสเตอร์ประมงคลัสเตอร์พืชพลังงาน คลัสเตอร์สมุนไพร และคลัสเตอร์ High valued crops เช่น ปศุสัตว์ เพื่อเชื่อมโยงอุตสาหกรรมS-curve และ New S-curve รวมถึงสร้างกระบวนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร พัฒนาระบบเกษตรสมัยใหม่โดยใช้ Agricultural Interlligence (AI) เพื่อตอบโจทย์ด้านการตลาดและยกระดับการผลิตภาคการเกษตร

ขณะที่นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนี้จะแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ EEC โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรฯเป็นประธาน เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นคณะทำงานและเลขานุการ ร่วมเพื่อจัดทำแผนงานโครงการด้านการเกษตร ตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทางให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนา EEC และรองรับต่อสถานการณ์หลังโควิด ในรูปแบบ NewNormal รวมถึงจะเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการเกษตรแห่งชาติ (Big Data) ของศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ NationalAgricultural Big data Center (NABC) ด้วย

ทั้งนี้ การใช้พื้นที่ EEC เป็นต้นแบบปรับการทำเกษตรในรูปแบบใหม่ทันสมัย จะเป็นโอกาสพัฒนาภาคเกษตรของประเทศ โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรด้วยการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรตามความเหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และตามความต้องการวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม โดยต้องบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับความต้องการสำหรับอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการและการท่องเที่ยวอย่างสมดุล ซึ่งจะเป็น platform ตัวอย่างด้านการเกษตรของประเทศที่ยกระดับเกษตรกรมีรายได้มั่นคง เกิดประโยชน์กับภาคประชาชนในพื้นที่ EEC และจังหวัดใกล้เคียงต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...