นางสดศรี สัตยธรรม อดีตกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุว่า สาระสำคัญของคำถามพ่วงประกอบการออกเสียงประชามติ ให้ ส.ว.มีสิทธิร่วมเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้นั้น ส่วนตัวคิดว่าไม่สามารถทำได้ เพราะคำถามพ่วงที่ผ่านประชามติไปแล้วนั้นไม่ได้ระบุไว้ ถึงแม้ สนช. จะบอกว่าทำได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วผู้ที่จะชี้ขาดว่าสามารถทำได้หรือไม่ คือศาลรัฐธรรมนูญ การที่ สนช.จะปรับแก้คำถามพ่วงไม่ถือเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ เพราะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอาจนำไปเขียนใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว.ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสนช.และกรธ.จะตกลงกัน
นางสมศรี ยังเห็นว่า การที่ สนช.ออกมาบอกว่าทำได้ คงมองว่าคำถามพ่วงฯ ที่ผ่านประชามตินั้น เป็นคำถามปลายเปิดที่สามารถตีความได้หลายอย่าง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็อาจตีความว่าทำได้หรือไม่ก็ได้ แต่ส่วนตัวคิดว่าการเพิ่มอำนาจให้ ส.ว.เช่นนี้ อาจเป็นการสืบทอดอำนาจอะไรหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่เคยมีฉบับใดเลยที่ให้ ส.ว.มีอำนาจร่วมเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้