ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
(คลิป) สถาบัน FIT ร่วม ปชป. จัด “Modern Bangkok” ฝ่าวิกฤติ Covid-19”
10 ก.ย. 2563

สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (FIT) ร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ จัด “Modern Bangkok” Workshop Series: Design Thinking “ฝ่าวิกฤติ เศรษฐกิจ Covid-19” 

วันที่ 9 กันยายน 2563 -  สถาบันออกเเบบอนาคตประเทศไทย (FIT) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการมุ่งเน้นการพัฒนาเรื่องปากท้องและเศรษฐกิจของคนกรุงเทพฯ ยุคหลัง Covid - 19 ผ่านการระดมสมองจาก ทั้งภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาครัฐ นักวิชาการ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ ด้วยกระบวนการ Design Thinking เพื่อแสวงหาแนวทางรับมือและแก้ไขปัญหาปากท้องคนกรุงเทพหลังยุค Covid -19   

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ว่า เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนกรุงเทพฯ ได้เข้ามามีส่วนร่วมระดมสมองออกแบบความคิด ช่วยกันแก้ปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ไข ตนในฐานะรองหัวหน้าพรรคฯ ดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ จะนำข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ผลักดันต่อรัฐบาล กระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวเปิดงาน พร้อมเน้นย้ำว่ารัฐบาลตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจาก Covid -19 แม้มาตรการเยียวยาอาจยังไม่ถูกใจหลายๆ ส่วน ละเลยหรือมองไม่เห็นปัญหาในอีกหลายมิติ แต่รัฐบาลมีความจริงใจและจะเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในส่วนของงานที่ตนรับผิดชอบ ยังคงเน้นการทำงานแบบบูรณาการ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” โดยใช้ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” เพื่อกระตุนการบริโภคภายในประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม

ในช่วงต้นได้มีการเสวนาโดยประกอบด้วย ดร.ธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์ ผู้อำนวยการ สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย คุณมนู มากมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเธอร์แอนด์บราเธอร์ จำกัด คุณเดชพนต์ พูลพรรณ กัปตันสายการบิน ร้าน Flying Sweet คุณสมบุญ จึงคูพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญองค์กรการเงินชุมชน และเศรษฐกิจฐานราก ดำเนินการเสวนาโดย คุณสัญชัย ปอปลี Chief Strategy Officer – Cryptomind โดยเนื้อหาการเสวนาครอบคลุมทั้ง การผลิกวิกฤติเป็นโอกาส จากว่างงานสู่รายได้หลักแสน การเปลี่ยนธุรกิจ SMEs จาก Analog สู่ Digital และแนวทางการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ Covid -19

ในขณะที่เสียงสะท้อนจาก ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) เห็นว่าวิกฤตครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อน ๆ ที่ผู้ได้รับกระทบเป็นคนชั้นกลางระดับบนและเศรษฐี แต่วิกฤตครั้งนี้กระทบฐานราก และชนชั้นแรงงาน พ่อค้าแม่ขาย ที่อยู่นอกระบบเศรษฐกิจจำนวนหลายล้านคน ในขณะที่โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้าน ของรัฐยังสอบไม่ผ่าน เพราะยังคงใช้การทำงานแบบระบบราชการ นำโครงการเก่าที่ไม่ได้รับงบประมาณในปีก่อน ๆ มาขออนุมัติในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนี้ การคัดเลือกโครงการยังเป็นแบบรวมศูนย์ไว้ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขาดการบูรณาการเพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของคนในพื้น

ดร.ธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์ ผู้อำนวยการสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย เสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ 4 ด้าน ได้แก่

- ด้านที่ 1 – มาตรการการช่วยเหลือทางการเงิน และเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน ด้วยการปรับเงื่อนไขใน พ.ร.ก. soft loan เพื่อกระตุ้นให้สถาบันการเงินปล่อยกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ SMEs เพิ่มทุน การเพิ่มทุนให้แก่ บสย. 20,000 ล้านบาท เพื่อขยายวงเงินค้ำประกันให้แก่ SMEs การจัดตั้งกองทุน 100,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่โรงแรมและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวแปลงหนี้เป็นทุน

- ด้านที่ 2 – มาตรการลดผลกระทบการว่างงาน ไม่ว่าจะเป็น ส่งเสริมให้มีการจ้างงานโดยรัฐเป็นการชั่วคราว (อย่างน้อย 1ปี) จำนวน 200,000-1,000,000 คน และโครงการต้นกล้าอาชีพเพื่อเสริมทักษะเดิม เพิ่มเติมทักษะใหม่ (Reskill, Upskill) และให้ค่าครองชีพระหว่างฝึกทักษะ จำนวน 500,000 ราย

- ด้านที่ 3 – มาตรการลดภาระประชาชนและส่งเสริมสวัสดิการพื้นฐาน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็นกรณีพิเศษเหลือ 12% ให้แก่ลูกค้าบัตรเครดิตที่มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท 1 ปี การ ลดค่าน้ำ – ค่าไฟครึ่งหนึ่งให้ทุกครัวเรือนที่มีค่าไฟไม่เกิน 100 หน่วย และอนุญาตให้มีการผ่อนจ่ายค่าน้ำ – ค่าไฟที่มียอดชำระไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 3 – 6 เดือน ผ่อนไม่เกิน 24 เดือน

- ด้านที่ 4 – มาตรการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน เช่น ยกระดับทักษะและฝืมือแรงงาน  ผ่านการให้ทุนการศึกษา คูปองส่วนลดสนับสนุนค่าเรียนเสริมทักษะระดับสูง สินเชื่อเพื่อวิชาชีพขั้นสูง โครงการยกระดับ 10 โรงเรียนอาชีวะศึกษาคุณภาพมาตรฐานระดับโลก ในพื้นที่กรุงเทพ ปริมณฑล เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ยกระดับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตโดยยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรเผื่อการผลิตให้แก่ SMEs

ด้านกิจกรรม Workshop ภายในงานซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนต่างๆ เช่น  กลุ่มผู้ว่างงาน กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจภาคบริการ (SMEs) กลุ่มผู้ค้าขายรายย่อย / หาบเร่แผงลอย และกลุ่มอาชีพอิสระ กลุ่มนักศึกษาจบใหม่ และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ต่างได้สะท้อนผลกระทบในแง่มุมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ Covid-19 โดยเฉพาะปัญหาด้านรายได้ที่ลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ในหลายอาชีพต้องเผชิญกับภาวะการเลิกจ้างงาน ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจภาคบริการ (SMEs) อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ เนื่องจากภาคบริการมีรายได้มาจากนักท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่

ทางออกจากวิกฤต คงหลีกหนีไม่พ้นการปรับตัวในเชิงธุรกิจ ควบคู่ไปกับนโยบายภาครัฐที่จะเกื้อหนุนให้ทุกสาขาอาชีพสามารถดำเนินไปได้ท่ามกลางพิษเศรษฐกิจในรอบนี้ สำหรับข้อเสนอที่ได้จากงาน “Modern Bangkok” Workshop Series: Design Thinking “ฝ่าวิกฤติ เศรษฐกิจ Covid-19” สามารถติดตามได้ที่เพจ www.facebook.com/ModernBangkok ในโอกาสถัดไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...