ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
เกษตรนำไทย
ย้อนกลับ
ชป.บริหารจัดการน้ำฤดูแล้งเป็นไปตามแผน พร้อมเตรียมรับฤดูฝนปี 64
20 เม.ย. 2564
กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 63/64 เป็นไปตามแผน ยืนยันมีน้ำเพียงพอสำรองต้นฤดูฝนปี 64 พร้อมสั่งการทุกโครงการชลประทาน เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนหน้าที่กำลังจะมาถึง ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ปัจจุบัน (19 เม.ย.64) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 37,188 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ49 ของความจุอ่างฯ รวมกัน มีน้ำใช้การได้ประมาณ 13,158 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ทั้งประเทศมีการใช้น้ำไปแล้ว 15,733 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 83 ของแผนฯ เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 9,078 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ รวมกัน มีน้ำใช้การได้ประมาณ 2,382 ล้าน ลบ.ม. จนถึงขณะนี้มีการใช้น้ำไปแล้ว 4,612 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 92 ของแผนฯ ทั้งนี้ จากอิทธิพลพายุฤดูร้อนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำสะสมในอ่างเก็บน้ำและในแม่น้ำสายหลักเพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย นับได้ว่าภาพรวมของการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 63/64 เป็นไปตามแผนที่วางไว้และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ คงเหลือการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งอีกเพียง 11 วัน ก่อนจะปรับเข้าสู่การบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนปี 64(เริ่มเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป) ได้สั่งการไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ด้วยการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยซ้ำซาก กำหนดเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแจ้งเตือนประชาชน การจัดสรรทรัพยากร เครื่องจักร เครื่องมือ อาทิ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เข้าไปประจำพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันที รวมทั้งเฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด พร้อมบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมและสอดคล้องกับสถานการณ์ รวมไปถึงตรวจสอบอาคารชลประทานให้มีความพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานเร่งกำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมทั้งเร่งขุดลอกคลองและแก้มลิง ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ ตามข้อสั่งการของ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน และเป็นไปตามนโยบายของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน จะเฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมบริหารจัดการน้ำในทุกช่วงเวลาให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด โดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด หากหน่วยงานหรือประชาชนท่านใดต้องการความช่วยเหลือ สามารถร้องขอไปได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทร 1460 สายด่วนกรมชลประทาน ได้ตลอดเวลา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธ.ก.ส.รับซื้อคาร์บอนเครดิต...
08 ก.ย. 2567
นฤมล นำ ก.เกษตรฯ ลุย สงขลา...
16 พ.ย. 2567
ก.เกษตรฯ' เดินหน้า FTA 19 ...
26 ก.ย. 2567
กรุงเทพ และ 6 จว. ระวังน้ำ...
10 ต.ค. 2567
มกอช. ตะลุยกรุงโซล โชว์มาต...
06 ต.ค. 2567
ผอ.ใหญ่ FAO หนุนไทย เจ้าภา...
17 ต.ค. 2567
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 440 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) กรรมการบริหารแ...
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...