ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ผู้ว่าฯ สตง.ตรวจ 2 โครงการใหญ่พิษณุโลก ทั้งหาดทรายเทียม/จุดชมวิวเขื่อนแควน้อยฯ-บึงราชการ ส่อทุจริต บอกมีอย่างที่ไหนของบขุดสระกลางบึงแล้วปล่อยทิ้งร้าง ขณะที่โครงการสร้างจุดท่องเที่ยวเขื่อนฯ ปีเดียวก่อท
09 พ.ย. 2559

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน พร้อมคณะได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจโครงการรัฐที่ส่อไปในทางทุจริต 2 จุดหลักในระหว่าง 3-4 พ.ย.นี้ คือ บึงราชนก ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก โดยพบว่า บึงราชนกกำลังกลายเป็นแหล่งละเลงงบประมาณของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง มีการขอใช้พื้นที่ภายในบึงสาธารณะ รวมทั้งนำงบประมาณไปก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วปล่อยทิ้งร้างจนแทบไม่เหลือสภาพแหล่งเก็บกักน้ำ

          นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า โครงการในบึงราชนกที่ส่อไปในทางทุรจิต คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซึ่งนำงบจำนวน 10 ล้านบาท และของบจากกรมชลประทาน เพิ่มเติมอีก 15 ล้านบาท รวมเป็นงบ 25 ล้านบาท เพื่อขุดสระใหญ่ภายในบึงราชนก ขนาดความกว้าง 120 เมตร ยาว 2,000 เมตร เอาไว้แข่งเจ็ตสกีเพียงครั้งเดียว

          “ถือว่าประหลาดและมหัศจรรย์สุดๆ ก็คือ ขุดสระน้ำทั้งๆ ที่อยู่ภายในบึงสาธารณะ ลักษณะงานคือถมคันดินทั้งสองฝั่ง วันนี้เชื่อว่าคนพิษณุโลกไม่รู้ว่ามีสนามกีฬาเจ็ตสกีอยู่ภายในบึกราชนก สำหรับสภาพบึงราชนกยังถูกชาวบ้านบุกรุก เลี้ยงควาย เลี้ยงเป็ด ทั้งๆ ที่พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความดูแลของกรมเจ้าท่า”

ล่าสุดสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีว่ามีหน่วยงานราชการขอใช้ประโยชน์ แต่ไม่ได้ฟื้นฟูบึงราชนก กลับนำงบไปขุดลอก-ถมเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างจำนวน 5 หน่วยงานรัฐ เช่น อบจ.ทำหอประชุม 20 ล้านบาท รัฐบาลจะต้องแก้ปัญหา ซึ่งทราบว่าได้มีการมอบหมายให้รองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาดำเนินการ

          ส่วนที่เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ที่มีการดำเนินการส่อไปในทางทุจริตเช่นกัน คือ โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (ลานอเนกประสงค์) ของสำนักก่อสร้าง 2 (โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน) และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแควน้อยบำรุงแดน ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก

          จุดแรก คือ ลานอเนกประสงค์ จุดชมวิวหน้าเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน พบว่ามีการนำเงินงบประมาณจำนวน 5 แสนบาท ซื้อหินแกรนิตขนาดใหญ่นำไปติดเป็นผนัง เมื่อปี 55 และส่งมอบปี 56 กระทั่งปี 57 หินแกรนิต ได้หลุดร่อนเสียหายตลอดแถว ส่งผลให้เกิดทัศนียภาพอุจาด ไม่ชวนมอง จนมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาชมบริเวณหาดทรายเทียมพบเห็นวิพากษ์วิจารณ์ และร้องไปยัง สตง.

          จุดที่ 2 คือ หาดทรายเทียมหน้าเขื่อนแควน้อย พบว่ามีการนำเงินงบประมาณจำนวนมากไปใช้ แต่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ หรือไม่คุ้มค่ากับความเป็นแหล่งท่องเที่ยวเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน คือ หาดทรายเทียม จ้างเหมาตามสัญญาจ้างเลขที่ ขค.จ.15/2558 ลงวันที่ 22 มิ.ย. 58 โดยใช้วิธีจัดการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ มี หจก.ชื่อย่อ “ช.” เป็นผู้ดำเนินการ กำหนดรายละเอียดค่างาน เฉพาะทรายจำนวน 3 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นค่าหิน ลูกรัง และคันปูน

          นายพิศิษฐ์กล่าวว่า กรณีของเขื่อนแควน้อยฯ ทาง สตง.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวที่พบเห็น และนำเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ จึงต้องมาตรวจสอบพบว่า หินแกรนิตหนักก้อนละ 5 กิโลกรัม ปัญหาคือ การออกแบบไม่ดี ไม่มีอะไรยึดติด ทั้งๆ ที่หินแกรนิตหนักมาก ควรใช้ช่างมีฝีมือ กระทั่งวัสดุเสื่อมสภาพ หลุดร่อนอย่างที่เห็นทุกวันนี้

          สำหรับหาดทรายเทียม สร้างเพื่อเสริมภูมิทัศน์เขื่อนแควน้อยฯ แต่กลับใช้งบสูงถึง 7.3 ล้านบาท ประกอบด้วย คันคอนกรีต 6 ระดับ ถมดินและเททรายตอนบนสุด แต่ ณ วันนี้ชาวบ้านถามว่าทรายหายไปไหน เพราะทรายที่ถมไว้มูลค่า 3 ล้านบาท ปัจจุบันน้ำที่เก็บกักก็จุเต็มเขื่อน ท่วมถึงหาดทรายเทียม จนมีหญ้า วัชพืชขึ้นรก และไม่มีใครดูแล

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...