ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กรมการแพทย์จับคู่แล็บเอกชนกับรพ.ในสังกัดเร่งจัดการเตียงให้เร็ว
04 พ.ค. 2564

นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการบริหารจัดการเตียงขัดข้องเนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระดับสูง โดยเฉพาะข่องทางการตรวจพบเชื้อจากแล็บตรวจที่ได้รับการอนุญาตจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งข้อจำกัดเมื่อตรวจพบผู้ติดเชื้อแต่ไม่สามารถหาโรงพยาบาลที่เข้าไปรักษาได้ โดยเดิมได้ให้แล็บเหล่านี้จับคู่กับโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐ หรือ โรงพยาบาลเอกชน แต่ก็มีข้อจำกัดจากที่มีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่มากขณะที่โรงพยาบาลมีจำนวนผู้ป่วยหนาแน่น

ดังนั้น กรมการแพทย์ต้องการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่มาจากช่องทางแล็บที่จะให้เข้ารักษาตามโรงพยาบาล วันนี้กรมการแพทยจึงได้เรียกประชุมผู้ประกอบการแล็บที่ได้รับอนุญาตในกรุงเทพตกลงกันเพื่อให้แล็บเดินหน้าตรวจต่อไปได้โดยได้จับคู่กับแล็บในกรุงเทพทั้งหมดแล้ว โดยเมื่อตรวจแล้วให้ส่งข้อมูลผู้ติดเชื้อไปยังสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง(สปคม.)ตามกฎหมายแล้ว และเพิ่มการส่งข้อมูลไปยัง 1668 ซึ่งจะเป็นผู้ติดต่อผู้ป่วยเพื่อหาเตียงให้กับผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว จากเดิมที่ต้องรอคอยและเป็นความเสี่ยงการแพร่ระบาดได้

"กรมการแพทย์ได้เรียกแล็บทั้งหมดมาทำข้อตกลงกัน เพิ่มช่องทางว่าเมื่อตรวจผู้ติดเชื้อแล้ว เมื่อเป็นบวกก็ต้องแจ้งมาที่ 1668 ด้วยแจ้งไปที่ สปคม.ด้วย และถ้าเป็นลบมีหน้าที่แจ้งไปยังผู้ที่มาใช้บริการในการตรวจ อันนี้ก็จะเป็นการจัดการเตียง ที่เพิ่มประสืทธภาพและย่นระยะเวลาให้มากขึ้น โดยใช้โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์เข้าไปจัดการเพื่อที่นำผู้ติดเชื้อเข้าสู่การรักษาให้เร็วที่สุด พ้นจากความกังวลและพ้นจากที่แพร่ระบาด"

รมช.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า ในส่วนการบริหารจัดการของ 1668ได้ก็มีการปรับโฉมใหม่ซึ่งตนจะไปตรวจเยี่ยม โดยให้เอกชนเข้ามาดูแล call center รับทุกสาย รับข้อมูลแล้วส่งให้หลังบ้านที่เป็นแพทย์พยาบาลที่จะดำเนินการต่อรวมถึงให้คำแนะนำต่างๆ เพื่อที่จะให้มีการจัดการเตียงให้เร็วที่สุด เพราะฉะนั้น 1668 ก็จะเป็น One Stop Service

ด้าน นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขอให้คลินิกแล็บเอกชนเมื่อตรวจพบผลบวกให้รายงานสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองภายใน 3 ชั่วโมง ซึ่งข้อมูลจะเชื่อมโยงมายังสายด่วน 1668 ทำให้สามารถติดต่อผู้ติดเชื้อเพื่อคัดแยกอาการและสอบถามว่ามีเตียงแล้วหรือไม่ หากมีเตียงรองรับแล้วให้ไปตามระบบ หากยังไม่มีเตียงจะประสานให้ตามความเหมาะสม เช่น ระดับอาการ โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือโรงพยาบาลตรงตามสังกัด เป็นต้น พร้อมส่งรายชื่อผู้ป่วยให้โรงพยาบาลปลายทางติดต่อกลับ โดยมีรถสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติไปรับถึงบ้าน ส่วนผู้ติดเชื้ออื่น ๆ ที่ยังไม่มีเตียงขอให้โทรเข้ามาสายด่วน 1668 จะช่วยหาเตียงด้วยเช่นกัน

"สิ่งสำคัญคือไม่ว่าได้เตียงที่ไหนขออย่าปฏิเสธการรักษา ให้รีบมาถึงมือแพทย์โดยเร็วจะปลอดภัยมากที่สุด ส่วนผู้ที่ปฏิเสธการรักษา หากเป็นกลุ่มที่อาการดีแต่ไม่ถึง 7 วัน จำเป็นต้องกักกันโรคจะประสาน 191 เชิญผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยและป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนในครอบครัวหรือชุมชน แต่ถ้าอาการดีนานกว่า 7 วันหรืออยู่ในเงื่อนไขที่ดูแลตนเองที่บ้านได้ จะให้ลงทะเบียนรับการดูแลจากทีมแพทย์พยาบาลเพื่อติดตามอาการจนพ้นระยะ 14 วัน"นพ.ณัฐพงศ์กล่าว

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด 19 แบ่งอาการเป็น 4 ระดับ คือ ไม่มีอาการ อาการเล็กน้อย อาการปานกลาง และอาการรุนแรง ซึ่งกลุ่มที่ใส่ท่อช่วยหายใจต้องดูแลในไอซียู ส่วนใหญ่รักษาหายได้ ไม่ได้กลายเป็นผู้เสียชีวิตทุกคน ส่วนที่พบเด็กติดเชื้อมากขึ้น เป็นไปตามสัดส่วนที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก การรักษาในเด็กต้องใช้แพทย์เฉพาะทางและเครื่องมือเฉพาะ ซึ่ง กทม.มีสถานพยาบาลรองรับผู้ป่วยเด็กอย่างเพียงพอ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...