ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กรมอนามัยแนะอยู่คอนโด-บ้านร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด
08 พ.ค. 2564

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งต้องรอเตียงเพื่อเข้ารับการรักษา โดยยังคงพักอยู่ภายในบ้านหรือคอนโด จึงต้องให้ความร่วมมือในเรื่องการทำความสะอาดที่อยู่อาศัย รวมถึงเสื้อผ้า และสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งการทำความสะอาดบ้านหรือคอนโด ผู้ทำความสะอาดต้องป้องกันตนเองด้วยการใส่แว่นตาป้องกัน สวมหมวกคลุมผม หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ถุงมือยาง ผ้ากันเปื้อนแบบยางหรือพลาสติก และรองเท้าบูท โดยเริ่มจากการทำความสะอาดเพื่อล้างสิ่งสกปรกออกก่อน ขั้นตอนต่อไปจึงทำการฆ่าเชื้อโรคบริเวณพื้นผิว ด้วยสารฆ่าเชื้อ ซึ่งมีสาร 3 ชนิดที่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าสามารถกำจัดเชื้อโควิด-19 ได้ คือ 1) โซเดียมไฮโปคลอไรท์ หรือน้ำยาซักผ้าขาว ความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ 2) ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือน้ำยาซักผ้าสี ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ และ 3) แอลกอฮอล์ ความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ โดยต้องเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคให้ได้ความเข้มข้นดังกล่าว ตัวอย่างการผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้น 6 เปอร์เซ็นต์ ขนาดบรรจุ 600 มิลลิลิตร โดยผสมให้ได้ความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ นั้น ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ไป 2 ฝา หรือ20 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 1 ลิตร และใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเช็ดตาม บริเวณที่มีการสัมผัสหรือใช้งานร่วมกันบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ เก้าอี้ รีโมทคอนโทรล ราวบันได เป็นต้น หากเป็นสิ่งของหรือของใช้ขนาดเล็กแนะนำให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ได้ โดยขณะทำความสะอาดให้เปิดประตู หน้าต่างเพื่อระบายอากาศ และให้แดดส่องทั่วถึงภายในบ้านหรือคอนโด

              นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า การทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วมให้เน้นเช็ดบริเวณที่รองนั่งโถส้วม ฝาปิดโถส้วม ที่กดชักโครก ราวจับ ลูกบิดหรือกลอนประตู ที่แขวนกระดาษชำระ อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ ที่วางสบู่ ผนัง และซอกประตู ส่วนบริเวณพื้นห้องน้ำสามารถใช้น้ำยาล้างห้องน้ำหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ผสมไว้แล้วราดทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที ส่วนการจัดการขยะให้เก็บรวมรวมขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลายของผู้ติดเชื้อโดวิด หรือสงสัยจะปนเปื้อนสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของผู้ติดเชื้อโควิด ใส่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ (ถุงแดง) 2 ชั้น โดยถุงใบแรกที่บรรจุมูลฝอย  ติดเชื้อแล้วให้ราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ และมัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น แล้วฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ บริเวณปากถุง แล้วมัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่นและฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้ออีกครั้ง จากนั้นเคลื่อนย้ายไปพักยังที่จัดไว้เฉพาะ เพื่อรอประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาเก็บขนไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป ทั้งนี้ เมื่อทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และชำระร่างกายให้สะอาด และเปลี่ยนเสื้อผ้า

              “สำหรับการล้างภาชนะ และอุปกรณ์ให้สะอาดตามหลักสุขาภิบาลอาหาร และฆ่าเชื้อโรค สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ วิธีที่  แช่น้ำร้อน 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 วินาที หรือใช้เครื่องอบที่อุณหภูมิ 80 - 100 องศาเซลเซียส แช่น้ำคลอรีน ที่ความเข้มข้น 100 พีพีเอ็ม โดยผสมผงปูนคลอรีน 60 เปอร์เซนต์ จำนวน 1 ช้อนชา ในน้ำ 1 แก้ว ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน แล้วรินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสผสมในน้ำสะอาด 20 ลิตร อบหรือผึ่งให้แห้งก่อนใช้ใส่อาหาร และจัดเก็บในที่สะอาด มีการปกปิด และ วิธีที่ 2 แช่น้ำร้อน 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 วินาที หรือใช้เครื่องอบที่อุณหภูมิ 80 - 100 องศาเซลเซียส แช่ด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ โดยใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 6 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วน ครึ่งช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร 1 นาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด อบหรือผึ่งให้แห้งก่อนใช้ใส่อาหาร และจัดเก็บในที่สะอาด มีการปกปิดที่มิดชิด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...