นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานในพิธีเปิด "จัดการฝึกอบรมเกษตรกร ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อเพื่อจำหน่าย" ปีงบประมาณ 2564 มีส่วนราชการ องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการฟาร์ม ประชาชนและเกษตรกร ร่วมในพิธีจำนวนมาก
นายสุวัฒน์ มัตราช ปศุสัตว์จังหวัดเลย รายงานว่า สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2563 เห็นชอบกรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่าง ๆ ตามที่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เสนอ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตามพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา -2019 โดยให้แต่ละจังหวัด เสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจังหวัดเลย โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย ได้รับการพิจารณาเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการซึ่งได้รับการโอนเงินตามโครงการแล้ว จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดแพะเนื้อ จังหวัดเลย 25 ราย, โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ เพื่อจำหน่าย 140 ราย และ โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ 280 ราย ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อเพื่อจำหน่าย จังหวัดเลย เป็นโครงการที่ - และสอดคล้องตามที่ สนง.ปศุสัตว์จังหวัดเลย ดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ในความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์ กับ ธ.ก.ส. โดยเริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม 2563 เป็นต้นมา ตามแผนสินเชื่อชุมชนสร้างไทยของ ธ.ก.ส.. ในอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 0.01 บาท/ปี ห้วงระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ปี 2563-2565)
การดำเนินการดังกล่าว มีกลุ่มเกษตรเข้าร่วมโครงการอนุมัติจ่ายเงินกู้แล้วไปแล้ว มากกว่า 37 ล้านบาท สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย ได้เล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญต่อการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวจังหวัดเลย อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดเลยทั้ง 14 อำเภอ มีจำนวน กว่า 5,000 ราย โคเนื้อ กว่า 45,000 ตัว
จึงได้เสนอโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อเพื่อจำหน่าย จังหวัดเลย และได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ให้ดำเนินโครงการและการจัดฝึกอบรมเกษตรกร ในปีงบประมาณปี 2564 โดยมีเป้าหมายเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ในพื้นที่จังหวัดเลย14 อำเภอ จำนวน 140 คน การอบรมแบ่งออกเป็น 2 รุ่น ๆ ละ 70 คน ในระหว่างวันที่
23-24 มิถุนายน 2564 โดยมีวัตถุประสงค์การฝึกอบรมเกษตรกร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการด้านเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ เช่น มีอัตราการตกลูกของฝูงสูงขึ้น ตลอดจนการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เลี้ยงโคเนื้อในระดับจังหวัดและอำเภอ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้มีอำนาจต่อรองด้านการตลาดและให้มีช่องทางการตลาดที่ชัดเจน โดยมีสัญญาการซื้อขายกับผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้แน่นอน ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นที่ข้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและการส่งออกโคเนื้อต่อไป