ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2568
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
เกษตรนำไทย
ย้อนกลับ
กรมชลฯ เน้นใช้น้ำท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลุยเก็บน้ำก่อนหมดฝน
17 ส.ค. 2564
กรมชลประทาน เน้นบริหารจัดการน้ำท่าในแหล่งน้ำธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด ก่อนจะหมดฤดูฝน พร้อมช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกจนกว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร และเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนภาคใต้ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ปัจจุบัน (16 ส.ค.64) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 38,531 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 14,602 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีกรวม 37,537 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 8,210 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 1,514 ล้าน ลบ.ม. ยังรับน้ำได้รวมกันอีกประมาณ 16,661 ล้าน ลบ.ม. ภาพรวมปริมาณน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยายังอยู่ในเกณฑ์น้อย ในขณะที่ทั้งประเทศมีการทำนาปีไปแล้วรวม 13.69 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 81 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 6.39 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 80 ของแผนฯ ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า วันที่ 17-21 ส.ค.64 นี้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตก จึงได้สั่งการไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศ ให้บริหารจัดการน้ำท่าด้วยความประหยัด ประณีต และให้เกิดประโยชน์สูงสุด เน้นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคต้องเพียงพอ ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำก่อนจะสิ้นฤดูฝนในอีก 2 เดือนให้ได้มากที่สุด เนื่องจากในปีนี้เกษตรกรได้เริ่มเพาะปลูกโดยใช้น้ำฝนเป็นหลักมาตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่เนื่องจากปัจจุบันปริมาณฝนเริ่มลดลง จึงขอให้ประชาสัมพันธ์ไปยังเกษตรกรโดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ให้รับรู้รับทราบถึงสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ ให้ชะลอการทำนาต่อเนื่องออกไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย สำหรับพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกแต่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว กรมชลประทาน จะให้ความช่วยเหลือไปจนกว่าเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ ตามข้อสั่งการของรัฐบาล และนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน สำหรับพื้นที่ภาคใต้ ขอให้เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน ด้วยการกำหนดพื้นที่เสี่ยง กำหนดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ เตรียมพร้อมด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือสามารถร้องขอไปยังโครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทร1460สายด่วนกรมชลประทาน ได้ตลอดเวลา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการ ตีกัน ตีกิน …!!?...
04 เม.ย. 2568
กฟก.เปิดแผนปฏิบัติยาว 5 ปี...
19 ก.พ. 2568
เกษตร ประกาศ Kick off “โคร...
16 มี.ค. 2568
กรมวิชาการเกษตร แจกใบ รับร...
14 เม.ย. 2568
นฤมล ผนึกทูตเกษตร ดันส่งออ...
20 ก.พ. 2568
อัครา เคาะเกณฑ์เยียวยาผู้ไ...
03 เม.ย. 2568
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 450 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2568
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
อังคาร โกฎแสง กรรมการบริหาร “มูลนิธิ อิ่มอก อิ่มใจ”
03 เม.ย. 2568
จากสถาปนิกหนุ่ม ..... สู่สายธารเพื่อสังคมคนเขาใหญ่ ปัจจุบันในพื้นที่เขาใหญ่นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และด้วยอาณาบริเวณโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ทั้งเทือกเขาที่รายล้อมไปทั่ว และยังรวมถึงธารน้ำที่รื่นร่มอีกหลายแห่ง ที่สำคัญไม่ห่างไก...