ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ไทยอันดับบ้วยเรื่องละเลยบำเหน็จบำนาญ
20 ต.ค. 2564

ดัชนีบำเหน็จบำนาญนานาชาติประจำปีนี้ (Global Pension Index 2021) จัดอันดับให้ไทยรั้งท้ายสุดจากทั้งหมด 43 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งก็ทำให้ไทยอยู่ในอันดับสุดท้ายของเอเชียด้วย

1.) ดัชนีบำเหน็จบำนาญนานาชาติ (Global Pension Index) จัดทำโดยบริษัท Mercer ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ชื่อดังระดับโลก ร่วมกับสถาบันซีเอฟเอ (CFA Institute) และมหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) ของออสเตรเลีย มีเป้าหมายสำรวจและจัดอันดับระบบบำเหน็จบำนาญใน 43 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก

2.) เกณฑ์การให้คะแนนตามดัชนีบำเหน็จบำนาญนานาชาติ จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังต่อไปนี้

เกณฑ์ด้านความเหมาะสม (Adequacy) เช่น ระบบเงินฝาก, การสนับสนุนภาครัฐ

เกณฑ์ด้านความยั่งยืน (Sustainability) เช่น การครอบคลุมของบำเหน็จบำนาญ, ปัจจัยพื้นฐานของแต่ละประเทศ

เกณฑ์ด้านความซื่อตรง (Integrity) เช่น ข้อกำหนดต่างๆ, ธรรมาภิบาล

3.) ผลการจัดอันดับประจำปีนี้พบว่า ไอซ์แลนด์มีระบบบำเหน็จบำนาญที่ดีที่สุด โดยได้คะแนนสูงถึง 84.2 รองลงมาคือเนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก ขณะที่ในเอเชีย สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีระบบบำเหน็จบำนาญดีที่สุด โดยอยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก ทำคะแนนได้ 70.7 ตามด้วยฮ่องกงและมาเลเซีย

4.) สำหรับประเทศไทย ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 43 รั้งท้ายของดัชนีนี้ โดยได้เพียง 40.6 ใกล้เคียงกับอาร์เจนตินา และเมื่อเทียบกับชาติในเอเชีย พบว่าไทยได้คะแนนต่ำกว่าฟิลิปปินส์และอินเดียด้วย

5.) เมื่อจัดอันดับตามเกรด ดัชนีดังกล่าวระบุให้ประเทศไทยได้เกรด D เป็นกลุ่มประเทศที่วางระบบเอาไว้อย่างน่าพอใจ แต่ภายใต้ระบบดังกล่าวกลับอ่อนแอหรือถูกละเลยโดยไม่ได้รับการปรับปรุง ทำให้เกิดข้อกังขาถึงประสิทธิภาพ

6.) ข้อมูลจากดัชนีนี้เจาะลึกถึงประเทศไทยโดยระบุว่า สถานการณ์บำเหน็จบำนาญในประเทศไทยแย่ลงเล็กน้อย เมื่อเทียบจากคะแนนที่ได้จากปีที่แล้ว เนื่องจากอัตราเงินฝากภาคครัวเรือนลดลง พร้อมเสนอว่า ไทยต้องขยายมาตรการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญให้ครอบคลุมกลุ่มอาชีพต่างๆ มากขึ้น ขณะเดียวกันต้องเพิ่มระดับการช่วยเหลือขั้นต่ำ สำหรับสนับสนุนผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...