ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ผล ไต๋เยี่ยมศูนย์ PIPO ทำผู้ฝ่าฝืน กม. ลดลง 53 %
25 ต.ค. 2564

จากพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีรายละเอียดและกฎหมายลำดับรองเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีบทกำหนดโทษที่สูง อาจทำให้ชาวประมงพาณิชย์ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายบางส่วน อาจจะไม่ทราบในรายละเอียดของกฎหมายทั้งหมด สุ่มเสี่ยงเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่พี่น้องชาวประมงจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

นายบัญชา  สุขแก้ว  รองอธิบดีกรมประมง  เปิดเผยว่า ในห้วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา (ปีงบประมาณพ.ศ. 2563 – 2564) ที่กรมประมงได้จัดกิจกรรม“พาไต๋เยี่ยมศูนย์ PIPO” โดยให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) ทั้ง 30 แห่งที่อยู่ใน 22 จังหวัดชายทะเล เชิญผู้ควบคุมเรือประมงพาณิชย์ (ไต๋เรือ) มาที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) เพื่อให้ความรู้ ในด้านข้อกฎหมาย ระเบียบ ปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พิกัดพื้นที่การทำประมง ข้อมูลพื้นฐานของศูนย์ PIPO และแนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยมีการแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ 

ระยะที่ 1 เป็นการเชิญผู้ควบคุมเรือประมงพาณิชย์ (ไต๋เรือ) มาที่ศูนย์ PIPO เพื่อให้ความรู้ ในด้านข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่อง การแจ้งเรือเข้าออก การจัดทำสมุดบันทึกทำการประมง ระบบติดตามเรือ (VMS) พื้นที่ห้ามทำการประมง และการปฏิบัติภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พร้อมแจกคู่มือชาวประมงพาณิชย์ให้กับพี่น้องชาวประมง ซึ่งในคู่มือฯ จะมีเนื้อหาสาระสำคัญที่ที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์, การแจ้งเข้า – ออก ท่าเทียบเรือของเรือประมง (PIPO), การดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง (VMS) ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา, การบันทึกข้อมูลการทำการประมง (Fishing Logbook), การนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง, คนประจำเรือ สำหรับคนต่างด้าว (Seabook), การรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง, การกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง, มาตรการปิดอ่าวและเครื่องมือที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมง, ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการทำการประมงพาณิชย์ และประกาศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ 

ระยะที่ 2 เจ้าหน้าที่ศูนย์ PIPO ได้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมตามสถานที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น ท่าเทียบเรือ แพปลา เป็นต้น  เพื่อให้พี่น้องชาวประมง ผู้ควบคุมเรือ ได้รับความรู้อย่างทั่วถึงและต้องดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินกิจกรรม “พาไต๋เยี่ยมศูนย์” จนถึงปัจจุบัน   ปรากฏว่า มีชาวประมงและผู้ควบคุมเรือประมง (ไต๋เรือ)  เข้าร่วมกิจกรรมแล้วทั้งสิ้น 6,826 ราย เจ้าหน้าที่และพี่น้องชาวประมงมีความใกล้ชิดและสัมพันธภาพอันดียิ่งขึ้น และที่สำคัญ นับตั้งแต่เริ่มกิจกรรมดังกล่าวมาพบว่า คดีการทำประมงผิดกฎหมาย ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์ PIPO โดยเปรียบเทียบ จากเมื่อเริ่มกิจกรรมปี 2562 มีผลการกระทำผิดฝ่าฝืนกฎหมายลดลงอย่างมาก สามารถอนุมานได้ว่าชาวประมงมีความรู้ความเข้าใจในการทำการประมงที่ถูกกฎหมายเพิ่มมากขึ้น เป็นไปตามนโยบาย 3 ป. ป้อง ปราม ปราบ ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เน้นย้ำในการป้องกันการกระทำผิด ซึ่งจะเป็นการช่วยให้พี่น้องชาวประมงสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการประมงที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และบริหารทรัพยากรประมงให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน...รองอธิบดี กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...