“เฉลิมชัย”โชว์ผลงานเปิด”อีสานเกตเวย์”ทันคิดออฟโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีนเชื่อมอีสานเชื่อมโลก
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
“อลงกรณ์”ตั้งเป้าพลิกโฉมอีสานเป็นระเบียงเศรษฐกิจใหม่(Esan New Economic Corridor )ส่งออกข้าวมันยางผลไม้พร้อมพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารสร้างมูลค่าเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืน
นาย อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้(2ธ.ค.)ว่าจากการประชุมหารือกับนายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และคณะที่กระทรวงเกษตรฯและการประชุมหารือเฉพาะกิจ (Focus Group)ของคณะทำงานฟรุ้มบอร์ดเฉพาะกิจครั้งที่ 5เพื่อปรับกลยุทธ์การบริหารจัดการผลไม้ในระดับพื้นที่ (Area Base) ตามนโยบาย ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Broad) ซึ่งเป็นการ Focus Group ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยผู้แทนคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.)โดยได้มอบนโยบายเป็นแนวทางการประชุมหารือ และการวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค รับ-ส่ง การรักษาคุณภาพผลไม้ เชิงพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมกับการกำหนดยุทธศาสตร์อีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางขนส่งทางรถไฟจากไทยผ่านลาวไปจีนทุกมณฑล-เอเซียตะวันออก-เอเซียกลาง-ตะวันออกกลางและยุโรปซึ่งเป็นการเปลี่ยนlogistics landscapeสร้างโอกาสใหม่ให้ประเทศไทยโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและผลไม้โดยมีอีสานเป็นประตูการค้าการขนส่งและเป็นฐานการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ1กลุ่มจังหวัด1นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารหรือศูนย์แปรรูปผลไม้และสินค้าเกษรรซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.) รวมทั้งการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ได้เตรียมความพร้อมในการเปิดบริการใช้ประโยชน์บนเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ซึ่งมีพิธีเปิดเป็นทางการในวันที่3ธ.ค.ที่เวียงจันทร์ นครหลวงของลาวและมีพิธีเปิดสถานีขนส่งท่านาแล้งในวันที่4ธ.ค.ที่จะถึงนี้
นาย อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำหรับเส้นทางรถไฟจีน – ลาว มีระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร 31 สถานีเริ่มต้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีนเชื่อมต่อที่เมืองบ่อเต็นของลาวมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งอยู่ติดกับจังหวัดหนองคายโดยมีการทำMOUบันทึกความร่วมมือ3ประเทศระหว่างไทย-ลาว-จีนในปี2560เพื่อ
เชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามแดนเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ผ่านการขนส่งทั้งทางราง ทางถนน ทางอากาศและทางเรือเพื่อสร้างโอกาสและการเติบโตของการส่งออกการนำเข้าของประเทศไทยต่อไปในอนาคตโดยมีอีสานเป็นระเบียงเศรษฐกิจใหม่(Esan New Economic Corridor )
“การเปิดศักราชใหม่ของระเบียงเศรษฐกิจอีสานเป็นผลมาจากการเดินทางเยือนจีนในเดือนพฤศจิกายนปี2562ของดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จนนำมาซึ่งการลงนามในพิธีสารเปิดด่านนำเข้าส่งออกระหว่างไทย-จีนเพิ่มเป็น16ด่านรวมทั้งด่านรถไฟโมฮ่านด่านรถไฟผิงเสียงด่านรถไฟเหอโขว่พร้อมกับจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตรโดยมีนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานทำงานร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม หน่วยงานรัฐอื่นๆ ภาคเกษตรกรและภาคเอกชนทำให้การเตรียมความพร้อมในการขนส่งทางรถและทางรถไฟปกติไปยังสถานีขนส่งท่านาแล้งพร้อมเปิดดำเนินการโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรเช่นข้าว มันสำปะหลัง ยาง และผลไม้เป็นต้นซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์และเวลาในการขนส่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรและเปิดโอกาสทางการตลาดต่างประเทศครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย
ทางสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายงานล่าสุดว่าขณะนี้ทางลาวได้กำหนดอัตราค่าโดยสารและค่าระวางขนส่งสินค้าแบบเทกองแล้ว ส่วนอัตราการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ยังไม่ได้กำหนด” นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด
ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมรายงานว่าการเชื่อมทางรถไฟความเร็วสูงในส่วนของไทยยังอยู่ระหว่างดำเนินการเช่นการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. กำหนดเปิดให้บริการ ปี 2569 สำหรับระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบรายละเอียดโดยมีกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2571
ในส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)แจ้งว่าได้จัดขบวนรถรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์และรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่สถานีท่านาแล้งของลาว จากเดิมมีรถไฟของ รฟท.ผ่านสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 1 ขาไป 2 ขบวนและขากลับ 2 ขบวนทางรฟท. ได้เพิ่มเติมตารางเวลาการเดินรถซึ่งเมื่อมีการเชื่อมต่อในเส้นทางดังกล่าวแล้วจะเพิ่มขบวนรถขาไป 7 ขบวนและขากลับ 7 ขบวน รวมมีการเพิ่มจำนวนขบวนรถเป็น 14 ขบวน อีกทั้งมีการพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง อีก 1 แปลงเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ในส่วนการจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับศูนย์ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนสินค้าจากรถไฟที่เข้ามาจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีนโดย ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังของลานขนถ่ายสินค้า สำหรับกองเก็บตู้สินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน, คลังสินค้า และอาคารประกอบอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงศูนย์การเอ็กซเรย์(X-ray) ตู้สินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการแบบ One-Stop Service