นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะทำงานด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา สำรวจข้อมูลปัญหา ความต้องการ แนวทางการพัฒนาพืชหลักของเกษตรกรในจังหวัด พบว่าเกษตรกรทำเกษตรกรรมโดยใช้ความรู้ดั้งเดิม ขาดการศึกษาถึงปัญหาที่แท้จริง ส่งผลต่อผลผลิต เมื่อผลผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็จะปรับเปลี่ยนโดยการเพิ่มปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อบำรุง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และดิน เป็นกรดจากการที่ใช้สารเคมีที่มากเกินไป
สภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) และมูลนิธิอุษรินทร์ ทำการศึกษาวิจัย และทดลองพื้นที่การเกษตรด้วยนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย ในแปลงเกษตรกร 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครราชสีมา ผลที่ได้เปอร์เซ็นต์ในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรเพิ่มขึ้น 18 - 28% ภายใต้การทำเกษตรกรรมของเกษตรกรปกติเหมือนเดิมทุกประการ
แคลเซียมคาร์บอเนตที่เป็นเทคโนโลยีนาโน ชนิดแขวนลอย เป็นสารที่มีอนุภาคเป็นบวก บดในส่วนที่เป็นโมเลกุลไม่เกิน 0.5 ไมครอน ใช้วิธีการวัดค่าดินเป็นหลัก วิธีการ คือ ผสมน้ำฉีดพ่นที่ดิน จากการทดสอบ เก็บข้อมูลเรื่องของผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น โดยใช้ในปริมาณที่ไม่มาก เช่น ถ้าวัดค่าดินมี PH 5 จะใช้นาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย ประมาณ 5 ลิตร/ไร่ ต้นทุนการผลิตประมาณ 300 บาท/ไร่
นอกจากนี้ ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เช่น ไก่ไข่ ไข่จะเป็นสีแดงมากขึ้น สุกร เนื้อจะเป็นสีชมพู สารสีธรรมชาติจากข้าวโพดไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรหรือผู้บริโภค ไม่ต้องพึ่งสารเร่งเนื้อแดงซึ่งเป็นอันตราย
สภาเกษตรกรฯ ได้ร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ให้สูงขึ้น จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่การปลูกประมาณ 1,600,000 ไร่ เกิดปัญหาไวรัสใบด่างประมาณ 500,000 ไร่ ใน 4 อำเภอหลัก ได้แก่ อำเภอโชคชัย เสิงสาง ครบุรี หนองบุญมาก จึงนำนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอยไปทดสอบวิจัยทั้งในแปลงเกษตรกรและแปลงในมหาวิทยาลัย ปรากฏว่า ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ เกษตรกรเคยปลูกได้ผลผลิตประมาณ 3 ตัน กลับเพิ่มขึ้นเท่าตัว เป็น 6 ตัน/ไร่/รอบ/ปี รวมทั้งผลข้างเคียง (Side effect) ที่ไปกระตุ้นให้พืชเกิดสภาพต้านทาน(resistor) สร้างสารโปรตีนขึ้น 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นตัวทำลายไวรัสใบด่างชนิดที่ 2 ทำให้มันสำปะหลังสร้างฮอร์โมนขึ้นมาแล้วไปกระตุ้นกลิ่นที่มีอยู่ในมันสำปะหลัง ซึ่งแมลงไม่ชอบ ในแปลงที่ฉีดพ่นนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอยจะพบแมลงหวี่ขาวน้อยมาก การระบาดของโรคใบด่างก็จะลดลงพรรคประชาธิปัตย์