นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจโครงการถนนจังหวัดนครราชสีมา ทางหลวงหมายเลข 224 ตอน พะโค-หนองสวน โดยเป็นเส้นทางจากจังหวัดนครราชสีมา ไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาณการจราจร 27,258 คัน/วัน ปริมาณรถบรรทุก 38.87% ซึ่งเป็นประเภทรถบรรทุกพืชผลทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยได้ดำเนินการขยายช่องจราจร 4ช่องจราจร เป็นระยะทาง 71.001 กิโลเมตร คงเหลือ 2ช่องจราจร 33.788 กิโลเมตร ซึ่งที่ผ่านมากรมทางหลวง (ทล.) มีแผนพัฒนาทางหลวงดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสำรวจและออกแบบ และเสนอเข้าในชุดของบประมาณเงินกู้ ปี2565 เป็นระยะทาง 23.114กิโลเมตร ยังคงเหลือพื้นที่อีก 10.674 กิโลเมตร โดยใช้งบประมาณ 980 ล้านบาท แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องนำงบประมาณเพื่อนำไปช่วยเหลือสถานการณ์ดังกล่าวก่อน
“มองว่าโครงการดังกล่าวมีความสำคัญที่ต้องดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรเนื่องจากเป็นเส้นทางขนส่งพืชผลทางการเกษตร ซึ่งหากการใช้งบประมาณในปี 2565 ของกรมทางหลวงเหลือจ่ายก็จะให้ตั้งงบประมาณขึ้นมาเพื่อก่อสร้างเป็นตอนไปก่อน คาดว่าจะใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท โดยจะดำเนินการจากฝั่งอ.ครบุรี โดยในส่วนที่เหลืออาจจะต้องพิจารณาความเหมาะสมต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดเป็นโครงการขนาดใหญ่” นายศักดิ์สยาม กล่าว
นอกจากนี้ นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า สำหรับโครงการปรับปรุงทางแยกขนาดใหญ่และงานขยาย4ช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 2298 ช่วงแยกแหลมทอง เป็นทางแยกขนาดใหญ่มีไฟสัญญาณจราจร สำหรับโครงการปรับปรุงทางแยกขนาดใหญ่และงานขยาย 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 24กม. ที่ 70+205 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 2298 กม. ที่ 0+000 (แยกแหลมทอง) ระยะทาง 0.600 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 40 ล้าน และงานก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพทางคู่ขนาน ตอนสี่แยกโชคชัย - หนองมัน ระหว่าง กม. ที่ 70+205 - 72+275 และ กม. ที่ 72+975 - 76+000 ระยะทางรวม 5.095 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 74 ล้านบาท ใช้งบประมาณปี 2565 รูปแบบการก่อสร้างเป็นทางคู่ขนานกว้าง 9 เมตร ก่อสร้างผิวทางแบบผิวแอสฟัลท์คอนกรีต โดยก่อสร้างแยกออกจากทางจราจรหลักด้านขวาทาง ระยะห่างประมาณ 14.50 เมตร และก่อสร้างจุดเข้าออกระหว่างทางคู่ขนานกับทางหลวงสายหลักเป็นระยะ
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า นอกจากนี้ปัจจุบันกระทรวงกำลังดำเนินการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย และมีแผนงานที่จะก่อสร้างระยะที่2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ขณะนี้โครงการออกแบบแล้วเสร็จอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีได้ในปี 2565 เปิดใช้บริการได้ในปี 2571 รวมถึงระยะที่ 3 ช่วง หนองคาย - เวียงจันทร์ ระยะทาง 16 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมการขนส่งสินค้าระหว่างไทย - สปป. ลาว - จีน ในอนาคต นอกจากนี้กระทรวงฯ กำลังพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งจะในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือให้เชื่อมโยงและครอบคลุมเชื่อมโยงทุกเครือข่าย ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว ให้ประชาชนในการเดินทาง
ทั้งนี้ โครงข่ายทางหลวงที่สำคัญของประเทศ แก้ไขปัญหาการจราจรและรองรับการจราจรที่มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่งผลให้การเดินทางและการขนส่งสินค้ามีความรวดเร็ว สะดวก และปลอดภัย สามารถลดอุบัติเหตุป้องกันความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ช่วยส่งเสริมศักยภาพการกระจายความเจริญทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงอย่าง