ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สธ.ชี้พบ โอไมครอน รายแรกในไทย
20 ธ.ค. 2564

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวอัพเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในไทย ว่า ข้อมูลถึงเมื่อวานนี้ (19 ธ.ค.) พบการติดเชื้อโอไมครอนแพร่กระจายไป 89 ประเทศและอีก 36 รัฐในสหรัฐอเมริกาเข้าใจว่าอาจจะมีการขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะมีมากกว่านี้ เนื่องจากบางประเทศไม่มีขีดความสามารถในการถอดรหัสพันธุกรรม

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ข้อมูลประเทศไทย ล่าสุด ช่วงบ่ายวานนี้(19ธ.ค.) การถอดรหัสพันธุกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 11 – 19 ธันวาคม พบว่า เป็นเดลต้า 1,541 ราย เบต้า 1 ราย ขณะที่ สายพันธุ์โอไมครอน 52 ราย รวมของเดิม 9 ราย เป็น 63 ราย โดยในจำนวนนี้ เป็นการคอนเฟิร์มด้วยการตรวจยืนยัน 20 ราย คิดเป็น 0.13% ของสัดส่วนสายพันธุ์ในไทย

“สังเกตว่า ช่วงหลังโอไมครอนเพิ่มขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว สัดส่วนที่ตรวจพบในไทยเพิ่มขึ้น 3% กว่าจากสัปดาห์ที่แล้วที่ไม่ถึง 1% ซึ่งยังเป็นการเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศที่เราตรวจจับได้เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ” นพ ศุภกิจ กล่าว

ขณะที่ สัดส่วนการตรวจพบสายพันธุ์ของผู้เดินทางเข้าประเทศ พบเป็นโอไมครอน สัดส่วน 1 ใน 4 หรือ 25% ของคนที่เดินทางเข้ามา และผ่านการตรวจด้วย วิธี RT-PCR ทั้งนี้ การส่งตัวอย่างมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการ (แล็บ) เราไม่ทราบภูมิลำเนาของตัวอย่างที่นำมาตรวจ ยกตัวอย่างเช่น ภูมิลำเนาอยู่ จ.นนทบุรี อ.ท่าอิฐ แต่เข้ามาอยู่ที่โรงพยาบาล และจุดที่ส่งตรวจหาเชื้อคือ รพ.ในกรุงเทพฯ เป็นต้น

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ต้องขอสรุปว่า 1.เราพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนเพิ่มค่อนข้างเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก อย่างเช่น อังกฤษเพิ่มขึ้นวันละแสนราย 2.ขณะนี้ทุกรายยังมีความเชื่อมโยงจากการเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ยังไม่มี Index Case ในประเทศไทยที่อยู่ดีๆ โผล่มาเหมือนที่เราเจอ สายพันธุ์อัลฟ่า 6 รายที่ทองหล่อ ช่วงเดือน เมษายน 2564 ซึ่งไม่มีประวัติเกี่ยวกับต่างประเทศ แต่อยู่ๆ ก็โผล่มา เป็นคลัสเตอร์ที่เกิดในประเทศ หรือ กรณีพบสายพันธุ์เดลต้า 40-50 รายในแคมป์คนงานหลักสี่ ซึ่งก็ไม่ทราบว่ามาจากต่างประเทศหรือไม่ นั่นเป็นคลัสเตอร์ที่เกิดในไทย อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อทั้งหมด 63 รายที่ตรวจพบ ก็ยังเป็นส่วนที่ถูกโยงจากการเดินทางมาจากต่างประเทศ

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า เราพบว่ามี 1 ราย ที่ตรวจด้วย RT-PCR  72 ชั่วโมงก่อนเดินมาและเมื่อถึงเทศไทยตามระบบแซนด์บ็อกซ์ (Sand box) ให้ผลลบ เราปล่อยเขาไป ต่อมาอีก 2-3 วัน เขาก็ป่วยแล้วก็เข้ามาตรวจซ้ำพบว่ามีผลบวก ดังนั้น ช่วงแรกที่ให้ผลลบ เป็นไปได้ในหลักการว่าอยู่ในระยะฟักตัว นั่นหมายความว่าอาจจะติดเชื้อตั้งแต่ประเทศต้นทางก่อนมาไทย

” ดังนั้น เป็นที่เราต้องชั่งน้ำหนักว่า ถ้าเรายังให้มีระบบ Test and go แบบเดิมก็จะมีกรณีที่หลุดแบบนี้ และถ้าหากไม่มีอาการป่วยอะไรก็อาจจะไปแพร่เชื้อสู้คนอื่นได้ นั่นก็จะเป็นคลัสเตอร์ในประเทศเกิดขึ้นได้ ซึ่งฝ่ายนโยบายต้องช่วยกันพิจารณาเรื่องนี้ แต่ยืนยันว่า การตรวจจับสายพันธุ์ทั้งแบบเบื้องต้นที่ใช้เวลา 1 วัน และแบบที่ยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ยังสามารถตรวจจับได้ ไม่มีหลุดรอดไปที่ไหนแน่ๆ ก็ขอให้ความมั่นใจ ” นพ.ศุภกิจ กล่าว

ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองโรคระบาด กล่าวว่า เราพบกรณี 1 รายดังกล่าว เป็นคู่สามีภรรยา โดยสามีเป็นนักบิน สัญชาติโคลัมเบีย ได้รับวัคซีนแอสตร้าฯ 2 เข็ม มีประวัติโรคเบาหวาน โดยวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เดินทางจากไนจีเรียเข้าไทย ผ่านระบบ sandbox ที่ กทม. ผลตรวจเบื้องต้น RT-PCR ไม่พบการติดเชื้อ หลังจากนั้น ก็อยู่ในระบบ sandbox ที่สามารถเดินทางออกนอกโรงแรมได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับ

ประวัติเดินทาง เช่ารถมอเตอร์ไซค์ไปตรวจตาที่ รพ.แห่งหนึ่ง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และไม่พบเจอผู้อื่น มีประวัติไปซื้อของร้านค้าใกล้โรงแรม ทานข้าวเที่ยงที่ห้าง โดยสวมหน้าตลอดเวลา

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน อยู่ในโรงแรม ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม  เข้ารับวัคซีนไฟเซอร์ เข็ม3 ที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง หลังจากนั้น เริ่มมีไข้ตัวร้อน จึงตรวจ ATK  ผลเป็นลบ ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม จึงไปพบแพทย์ที่ รพ.อีกครั้ง โดยผลตรวจไวรัสอื่นให้ผลลบทั้งหมด ผลเอกซเรย์ปอดปกติ  และเมื่ออยู่ในระบบแซนก์บ็อกซ์ ครบ 7 วันตามโปรแกรมของการกักตัวที่โรงแรม ก็ไปส่งที่ห้าง

หลังจากนั้น ผู้ติดเชื้อราคนดังกล่าวก็กลับบ้านที่ จ.ปทุมธานี อยู่กับภรรยา ต่อมาวันที่ 4 ธันวาคม เริ่มมีอาการไข้ ไอเจ็บคอ อ่อนเพลียมากขึ้น ตรวจ ATK ผลยังเป็นลบอยู่

ต่อมาวันที่ 7 ธันวาคม อาการเริ่มเหนื่อยมากขึ้นแต่ยังมีสติ เดินทางได้ จึงไป รพ.ที่ไปฉีดวัคซีน ผลตรวจ RT-PCR เป็นบวก สรุป ภรรยาที่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงก็อยู่กักตัวที่บ้าน และเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ไปตรวจ RT-PCR เป็นบวก วันเดียวกันนั้นผลของสามีออกมาว่าเป็นโอไมครอน จึงมีการตรวจหาโอไมครอนในภรรยาด้วย หลังจากนั้น พบว่าเป็นโอไมครอนเช่นเดียวกัน และมีการยืนยันว่าเป็นโอไมครอนทั้งคู่

นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ดังนั้น ภรรยารายนี้น่าจะเป็นคนแรกของเมืองไทยที่ติดเชื้อจากสามีที่เดินทางจากต่างประเทศและเป็นการติดเชื้อโอไมครอนในประเทศรายแรก ส่วนผู้สัมผัสบนเครื่องบินของสามี ไม่มี เนื่องจากนั้งห่างกะนตามมาตรการ อย่างไรก็ตาม ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของภรรยารายนี้คือ คนขับแท็กซี่ไปส่งรพ. การตรวจ RT-PCR ให้ผลลบ และอยู่ระหว่างการกักตัว 14 วัน และตรวจยืนยันครั้งที่ 2 คาดว่าผลออกพรุ่งนี้ เบื้องต้น อาการของสามีขณะที่อยู่รพ. มีอาการเชื้อลงปอด อาการหนักขึ้น แต่ไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ทั้งนี้ ล่าสุด อาการดีขึ้นแล้ว ส่วนภรรยา ได้รับวัคซีนแอสตร้าฯ 2 เข็มแล้ว และไม่มีอาการรุนแรงอะไร

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...