ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
เกษตรเข็นนโยบายสมุนไพรอินทรีย์
21 ธ.ค. 2564

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เตรียมเป็นประธานเปิดงาน มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 18 ภายใต้แนวคิด "กัญชานำไทย สมุนไพรสร้างชาติ" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 26 ธ.ค. 2564 นี้ ที่ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ทั้งในรูปแบบ On Site และ On Line เพื่อยกระดับนวัตกรรมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ และสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ให้เครือข่ายชุมชน ผู้ประกอบการธุรกิจบริการสุขภาพ เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาล ขอเชิญชวนประชาชนชมมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 18 สำหรับไฮไลท์ ได้แก่ การจัดแสดงกัญชา กัญชง ตั้งแต่ต้นทาง คือการเพาะปลูก โดยได้รวบรวมสายพันธุ์กัญชาท้องถิ่นตามภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศมาจัดแสดง พร้อมนำเสนอวิธีการเพาะปลูกในหลากหลายรูปแบบ กลางทาง คือขั้นตอนการสกัดเป็นสมุนไพร เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และปลายทาง โดยนำเสนอผลิตผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ฯลฯ ที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ ภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพจากกัญชา พร้อมกับมีกิจกรรม Workshop เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ ให้กัญญา กัญชง เป็นพืชสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนทั้ง เกษตรกร อุตสาหกรรม ธุรกิจ และประชาชน

ภายในงานยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาเส้นทางกัญชาในทุกมิติ เช่น กฎหมาย การขออนุญาต และธุรกิจกัญชาไทย, มีการปาถกฐาพิเศษ ในหัวข้อฟ้าทะลายโจร กระชาย สมุนไพรพลิกวิกฤต COVID-19, กัญชาจากนโยบายสู่พื้นที่ไร้รอยต่อ ต่อยอดเศรษฐกิจ, โอกาสและความท้าทาย การพัฒนาสมุนไพรไทย เชิงเศรษฐกิจ และอีกมากมาย, นอกจากนี้ยังมีแพคเกจเส้นทางท่องเที่ยวกัญชาในการดูแลสุขภาพ, บริการและคลินิกให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ได้แก่ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย คลินิกการแพทย์แผนจีน และการแพทย์ทางเลือก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย, ภายในงานยังแจกต้นกล้าพันธุ์ไม้สมุนไพรหายาก 300 ต้น/ วัน

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 18 ภายใต้แนวคิด "กัญชานำไทย สมุนไพรสร้างชาติ" ระหว่างวันที่ 22 - 26 ธ.ค. 2564 นี้ มีมาตราการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างรัดกุม โดยให้แสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนแล้ว 2 เข็ม ส่วนผู้ที่ยังฉีดวัคซีนไม่ครบ 2 เข็ม ต้องมีผลตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

 
เกษตรเดินหน้าหนุนนโยบายสมุนไพรอินทรีย์ 

ขณะที่นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่าจากที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อนกำหนดนโยบายส่งเสริมสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต(Future Food Future Crop) เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพทางเลือกและมีรายได้เพิ่มขึ้นรวมทั้งสนับสนุนการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและทุกภาคีภาคส่วนถือเป็นหนึ่งในเกษตรมูลค่าสูงโดยส่งเสริมสนับสนุนตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา(R&D)ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำการตลาด
 
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรได้มีมาตรการการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรโดยในปัจจุบันมีเกษตรกร 369,353 รายขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านพืชสมุนไพร เครื่องเทศ พืชสมุนไพรที่เป็นพืชอาหาร (รวม 82 ชนิด) ดำเนินการปลูกพืชสมุนไพรบนพื้นที่รวมประมาณ 1.15 ล้านไร่  แบ่งออกเป็น การปลูกพืชสมุนไพรให้ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้า GAP และมาตรฐานพืชสมุนไพรอื่น ๆ กว่า 6.4 หมื่นไร่ และมีกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่พืชสมุนไพร ตั้งแต่ปี 2559 – 2564 จำนวนทั้งสิ้น 37 แปลง จำนวนเกษตรกร 1,565 ราย พื้นที่ 7,913 ไร่ ใน 22 จังหวัด และในปี 2565 ได้มีกลุ่มเกษตรกรขอเข้าร่วมโครงการอีกจำนวน 15 กลุ่ม กำลังอยู่ในขั้นตอนขอรับรองแปลง และกระทรวงฯ มีโครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพรปี 2565 มีเป้าหมายเกษตรกร จำนวน 1,110 ราย ในพื้นที่ 37 จังหวัด และจัดทำแปลงขยายและรวบรวมพันธุ์สมุนไพรในศูนย์ปฏิบัติการ จำนวน 16 ศูนย์เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานวัตถุดิบ ส่งเสริมการผลิตสมุนไพร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามแนวเกษตรปลอดภัย สร้างรายได้แก่เกษตรกรและเพิ่มมูลค่าการส่งออกอย่างมั่นคงและยั่งยืน

โดยตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรขณะนี้ได้กลับมาขยายตัวอีกครั้งตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไปด้วยอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 4% ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิด Covid-19 ที่มูลค่าตลาดประมาณ 54,500 ล้านบาทโดย ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการยกร่างแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อร่วมกันพัฒนาสมุนไพรให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพและระบบเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน

อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรให้ไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงในทุกมิติ โดยใช้ตลาดเป็นตัวนาการผลิต เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินการวิจัยตั้งแต่การกาหนดโจทย์วิจัยที่ตรงตามความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ตาม 10 ภารกิจหลักในการพัฒนาตามแผนด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ พ.ศ. 2563 –2565 ประกอบด้วย 1. การปลูกสมุนไพรที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งดำเนินการได้ 64,225 ไร่ จาก 82 ชนิดพืช
2. กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ได้รับการส่งเสริมการแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว ณ สถานที่ปลูกและการผลิตผลิตภัณฑ์ และสารสกัดอย่างง่ายในระดับชุมชน จำนวน 92 แห่ง
3. กำหนดมาตรฐาน GAP หรือมาตรฐานพืชสมุนไพรตามกลุ่มที่ใช้ของพืช จำนวน 5 ฉบับ
4. จัดทำแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสาหรับปลูกพืชสมุนไพร (Land Suitability) 24 ชนิด
5. พัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร (Land Use) 1 ฐานข้อมูล
6. ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 17025 ให้บริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ จำนวน 8 แห่ง
7. พัฒนาระบบตลาดกลาง 1 แห่ง และตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 1แห่ง (E-Market) 
8. กาหนดมาตรฐานสมุนไพรในตารามาตรฐานสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP) จำนวน 109 รายการ
9. พัฒนาฐานข้อมูลพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ของประเทศไทย (National Database of Thai Plants and Traditional Knowledge) 1 ฐานข้อมูล
10. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชสมุนไพรและเทคโนโลยีเพื่อผลิตวัตถุดิบ 57 เรื่อง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...