ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กรมเด็ก+กรมสุขภาพจิตทำ หนึ่งบ้าน หนึ่งโรงพยาบาล
28 ม.ค. 2565

นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า เด็กทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดต้องได้รับบริการสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม ทั้งด้านการศึกษา สุขภาพกาย-ใจ โอกาสในการสร้างทักษะชีวิตที่เหมาะสม เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กกลุ่มที่สูญเสียสมาชิกครอบครัว จากสถานการณ์ COVID-19 ที่จะทำให้เด็กเสี่ยงต่อปัญหาด้านการศึกษา สุขภาพ ความปลอดภัย ทักษะชีวิต และโอกาสในชีวิตในอนาคต กรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้ขับเคลื่อนมาตรการเชิงรุกและเชิงรับในการให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวอย่างรอบด้าน เช่น การเร่งค้นหาเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ ผ่านช่องทางแจ้งเหตุต่าง ๆ ทั้ง Application คุ้มครองเด็ก หรือ LINE SAVEKIDSCOVIDS-19 และการลงพื้นที่เพื่อประสานความช่วยเหลือเฉพาะหน้าเป็นรายกรณี การจัดบริการการเลี้ยงดูทดแทน (ครอบครัวอุปถัมภ์/เครือญาติอุปถัมภ์) ตลอดจนการเป็นศูนย์ช่วยเหลือเด็ก COVID-19 พัฒนาระบบการดำเนินงานในสถานการณ์ COVID-19 ร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น การจัดหาอาสาสมัครดูแลเด็กติดเชื้อในสถานที่ต่างๆหรือเด็กขาดผู้ดูแล หรือการสนับสนุนบริการครอบครัวอุปถัมภ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

   

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การดูแลช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 เป็นมาตรการที่รัฐบาลให้ความสําคัญ เพื่อลดผลกระทบระยะยาวต่อเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศ การสูญเสียบุคคลที่รักในครอบครัว โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนที่สูญเสียผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ถือเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กอย่างเรื้อรังหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที เพราะเมื่อครอบครัวสูญเสียเสาหลักหรือผู้ใหญ่ที่จะทำหน้าที่ดูแลเด็กไป จะส่งผลให้ความสามารถในการดูแลและสนับสนุนเด็กลดลง ทำให้เด็กเสี่ยงต่อปัญหาพัฒนาการล่าช้า ผลการเรียนแย่ลง บางกลุ่มต้องออกจากการศึกษากลางคัน เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เพราะฉะนั้นการดูแลจิตใจด้วย “การปฐมพยาบาลทางใจ” ร่วมไปกับการดูแลด้านสังคมในเด็กเปราะบางกลุ่มนี้ จึงเป็นการช่วยเหลือเร่งด่วนที่เด็กและผู้สูญเสียทุกคนจำเป็นต้องได้รับ ร่วมไปกับการช่วยเหลือสนับสนุนปัจจัยทางสังคม การช่วยเหลือทั้ง 2 ด้าน จะช่วยเกื้อหนุนให้เด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียสามารถกลับมาใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้  กรมสุขภาพจิตและกรมกิจการเด็กและเยาวชนจึงได้ร่วมมือกันพัฒนาโมเดล “หนึ่งบ้าน หนึ่งโรงพยาบาล (One House One Hospital)” เพื่อประสานความร่วมมือ ในการดูแลทางสังคมและจิตใจระหว่างบ้านพักเด็กและครอบครัวและโรงพยาบาลในทุกจังหวัด เป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความรวดเร็วและเป็นหนึ่งเดียวในการดูแลช่วยเหลือปัญหาด้านจิตสังคมในเด็กและเยาวชน นับตั้งแต่เริ่มขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 มีเด็กที่สูญเสียผู้ปกครองจากสถานการณ์ COVID-19 จำนวน 391 คน สามารถติดตามดูแล ให้การปฐมพยาบาลทางใจได้ 246 คน คิดเป็นร้อยละ 63 เมื่อติดตามดูแลต่อเนื่อง พบว่า เด็กทั้งหมดมีสภาพจิตใจและการปรับตัวที่ดีขึ้น ครอบครัวสามารถดูแลเด็กต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ ส่วนเด็กอีกหนึ่งในสามที่ยังติดตามไม่ได้ กรมสุขภาพจิตพัฒนาบริการเชิงรุกด้วย “รถเพื่อนใจ” เป็นรถส่งเสริมพัฒนาการและให้การดูแลจิตใจเด็กและเยาวชนในเชิงรุก เพื่อให้เด็กกลุ่มเปราะบางทางสังคมสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้แม้ในสถานการณ์ยากลำบาก  

     

ความร่วมมือระหว่างกรมกิจการเด็กและเยาวชน และกรมสุขภาพจิต จะไม่ใช่เพียงการลงนามในกระดาษ แต่เป็นการให้คำมั่นของเราต่อการปกป้องคุ้มครองเด็ก เป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อปกป้อง คุ้มครอง ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและความปลอดภัยของเด็กและเยาวชน ไม่เพียงเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 แต่รวมไปถึงเด็กกลุ่มเปราะบางทางสังคมอื่น ๆ ด้วย เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันว่าเด็กทุกคนจะอยู่ดี มีสุขปลอดภัยในครอบครัว ชุมชน และสังคมแวดล้อมที่คุ้มครองและดูแล สอดรับกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ว่า เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง “เมื่อครอบครัวเดินต่อได้ สังคมไทยก็เดินต่อได้”

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...