นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้นำชาวบ้านในเขตดอนเมืองมายื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ผอ.สำนักการโยธา ผอ.เขตดอนเมือง ต่อศาลปกครองกลาง ฐานใช้อำนาจโดยมิชอบและละเลยการปฏิบัติหน้าที่ กรณีที่กรุงเทพมหานครได้ก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน โดยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายเวนคืน ปี 2530 และปี 2562
ทั้งนี้ เนื่องจากการกำหนดแนวเส้นทางของถนนที่จะต้องมีการเวนคืนดังกล่าวที่มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณปากซอยวิภาวดีรังสิต 72 ขนานไปกับทิศใต้ของท่าอากาศยานดอนเมือง ข้ามคลองลาดพร้าว ก่อนสิ้นสุดที่ถนนพหลโยธิน ระหว่างซอยพหลโยธิน 69/2 ถึง 69/3 และเชื่อมต่อกับถนนเทพรักษ์ (พหลโยธิน-สุขาภิบาล 5) รวมระยะทางประมาณ 2.76 กิโลเมตรนั้น ซึ่งแนวเส้นทางดังกล่าวมิได้เป็นเส้นตรง แต่ กทม.มีเจตนาที่จะออกแบบเส้นทางให้หักศอกคดเคี้ยวเลียบคลองลาดพร้าวเพื่อทำลายชุมชนร่วมมิตรแรงศรัทธา เขตดอนเมืองตามแนวริมคลองลาดพร้าวให้เสียหายไปกว่า 174 หลังคาเรือน ทั้งๆที่หากออกแบบเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นตรง จะกระทบต่อชาวชุมชนร่วมมิตรฯเพียง 5-10 หลังคาเรือนเท่านั้น
นอกจากนั้น การออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนและการออกประกาศเข้าพื้นที่มีข้อพิรุธหลายประการ โดยเฉพาะการมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีการตามที่ พ.ร.บ.เวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ 2530 และ 2562 กำหนด การกำหนดเส้นทางเวนคืนที่ไปบุกรุกที่ดินริมคลองบางเขน ซึ่งเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องห้ามตามกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560 หลายมาตรา เป็นการทำลายสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดินของชาวบ้าน ซึ่งชี้ว่ารัฐบาลและ กทม. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนยากคนจน ที่จะต้องได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวโดยไม่จำเป็น
ที่สำคัญมีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนมาตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2561 และจะครบอายุ พรฎ.ดังกล่าวแล้วในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นี้ แต่ กทม.กลับเพิ่งนำ พ.ร.ฎ.จะเวนคืนฯ และรายชื่อชาวบ้านที่จะได้รับค่าชดเชยโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างมาปิดประกาศให้ชาวบ้านทราบเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 นี้เอง โดยไม่ระบุตัวเลขค่าเวนคืน แต่เรียกให้ไปเจรจากับทางเจ้าหน้าที่เอง และไม่มีการบอกให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นข้อพิรุธที่ปล่อยไปไม่ได้
ด้วยเหตุดังกล่าวชาวบ้านตามแนวเส้นทางเวนคืนฯ ดังกล่าว จึงได้มอบอำนาจให้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้เรียกร้องความเป็นธรรมให้แต่ กทม. กลับไม่สนใจต่อข้อเรียกร้องของชาวบ้าน โดยเฉพาะ ผอ.สำนักงานจัดกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา ซึ่งสมาคมฯพยายามติดต่อไปแล้วหลายครั้งแต่กลับเพิกเฉย ไม่แยแส วันนี้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จึงจำต้องนำความมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองให้ชาวบ้าน เพื่อเพิกถอนการใช้อำนาจเวนคืนฯโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเป็นการสั่งสอนคนของ กทม.และสำนักการโยธาด้วยว่า ถ้าคิดว่ามีอำนาจอยากทำอะไรก็ได้นั้น ขอให้มาสู้กันในศาลดีที่สุดนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้นำชาวบ้านในเขตดอนเมืองมายื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ผอ.สำนักการโยธา ผอ.เขตดอนเมือง ต่อศาลปกครองกลาง ฐานใช้อำนาจโดยมิชอบและละเลยการปฏิบัติหน้าที่ กรณีที่กรุงเทพมหานครได้ก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน โดยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายเวนคืน ปี 2530 และปี 2562
ทั้งนี้ เนื่องจากการกำหนดแนวเส้นทางของถนนที่จะต้องมีการเวนคืนดังกล่าวที่มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณปากซอยวิภาวดีรังสิต 72 ขนานไปกับทิศใต้ของท่าอากาศยานดอนเมือง ข้ามคลองลาดพร้าว ก่อนสิ้นสุดที่ถนนพหลโยธิน ระหว่างซอยพหลโยธิน 69/2 ถึง 69/3 และเชื่อมต่อกับถนนเทพรักษ์ (พหลโยธิน-สุขาภิบาล 5) รวมระยะทางประมาณ 2.76 กิโลเมตรนั้น ซึ่งแนวเส้นทางดังกล่าวมิได้เป็นเส้นตรง แต่ กทม.มีเจตนาที่จะออกแบบเส้นทางให้หักศอกคดเคี้ยวเลียบคลองลาดพร้าวเพื่อทำลายชุมชนร่วมมิตรแรงศรัทธา เขตดอนเมืองตามแนวริมคลองลาดพร้าวให้เสียหายไปกว่า 174 หลังคาเรือน ทั้งๆที่หากออกแบบเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นตรง จะกระทบต่อชาวชุมชนร่วมมิตรฯเพียง 5-10 หลังคาเรือนเท่านั้น
นอกจากนั้น การออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนและการออกประกาศเข้าพื้นที่มีข้อพิรุธหลายประการ โดยเฉพาะการมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีการตามที่ พ.ร.บ.เวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ 2530 และ 2562 กำหนด การกำหนดเส้นทางเวนคืนที่ไปบุกรุกที่ดินริมคลองบางเขน ซึ่งเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องห้ามตามกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560 หลายมาตรา เป็นการทำลายสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดินของชาวบ้าน ซึ่งชี้ว่ารัฐบาลและ กทม. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนยากคนจน ที่จะต้องได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวโดยไม่จำเป็น
ที่สำคัญมีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนมาตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2561 และจะครบอายุ พรฎ.ดังกล่าวแล้วในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นี้ แต่ กทม.กลับเพิ่งนำ พ.ร.ฎ.จะเวนคืนฯ และรายชื่อชาวบ้านที่จะได้รับค่าชดเชยโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างมาปิดประกาศให้ชาวบ้านทราบเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 นี้เอง โดยไม่ระบุตัวเลขค่าเวนคืน แต่เรียกให้ไปเจรจากับทางเจ้าหน้าที่เอง และไม่มีการบอกให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นข้อพิรุธที่ปล่อยไปไม่ได้
ด้วยเหตุดังกล่าวชาวบ้านตามแนวเส้นทางเวนคืนฯ ดังกล่าว จึงได้มอบอำนาจให้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้เรียกร้องความเป็นธรรมให้แต่ กทม. กลับไม่สนใจต่อข้อเรียกร้องของชาวบ้าน โดยเฉพาะ ผอ.สำนักงานจัดกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา ซึ่งสมาคมฯพยายามติดต่อไปแล้วหลายครั้งแต่กลับเพิกเฉย ไม่แยแส วันนี้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จึงจำต้องนำความมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองให้ชาวบ้าน เพื่อเพิกถอนการใช้อำนาจเวนคืนฯโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเป็นการสั่งสอนคนของ กทม.และสำนักการโยธาด้วยว่า ถ้าคิดว่ามีอำนาจอยากทำอะไรก็ได้นั้น ขอให้มาสู้กันในศาลดีที่สุด