ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
บิ๊กป้อม เร่งฟื้นฟูคืนน้ำใสให้คลองแสนแสบ
08 ก.พ. 2565

“รองนายกฯ ประวิตร” ผลักดันโครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ระยะที่ 2 ภายใต้แผนหลักการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบ มั่นใจช่วยพลิกฟื้นคืนชีวิตให้คลองแสนแสบและคลองสาขาให้มีคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างยั่งยืน คาดแล้วเสร็จภายในปี 2569
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหาร พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูคลองแสนแสบ ครั้งที่ 1/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (VDO Conference) โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าตามที่มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของแผนหลักการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 จำนวน 84 โครงการ ดำเนินงานโดย 8 หน่วยงาน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กรมโรงงานอุตสาหกรรม องค์การจัดการน้ำเสีย กรมควบคุมมลพิษ กรมเจ้าท่า กรมชลประทาน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน (ปี64) ระยะกลาง (ปี65–70) และระยะยาว (ปี71–74) ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ติดตามและเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผน รวมถึงโครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรีที่อยู่ในแผนระยะเร่งด่วน เป็นโครงการที่บรรจุไว้ในแผนการในการแก้ไขปัญหาและบำบัดน้ำเน่าเสียในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร แบ่งการดำเนินโครงการเป็น 2 ระยะ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4.43 ตารางกิโลเมตร จะรับน้ำเสียในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตมีนบุรี และพื้นที่บางส่วนของเขตคลองสามวา เขตสะพานสูง และเขตคันนายาว คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 โดยจะสามารถบำบัดน้ำเสียได้ 10,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน

ดังนั้น เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีนบุรีทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองแสนแสบและคลองสาขาได้กลับมาดีขึ้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบโครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรีในระยะที่ 2 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปี66-69) เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองต่างๆ ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร เช่น คลองแสนแสบ คลองสามวา และคลองสองต้นนุ่น ในเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา เขตคันนายาว และเขตสะพานสูง ครอบคลุมพื้นที่ 15.39 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะช่วยบำบัดน้ำเสียได้ 42,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน โดยจะเสนอต่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญและคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ต่อไป
ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อโครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ทั้งระยะที่ 1 และระยะที่ 2 แล้วเสร็จสมบูรณ์ จะทำให้กรุงเทพมหานครมีระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ก่อนระบายลงคลองแสนแสบ และน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้คลองสายหลักที่สำคัญ ได้แก่ คลองแสนแสบ รวมทั้งคลองสาขาในพื้นที่บริการน้ำเสีย มีคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น ลดปัญหาน้ำเน่าเสียและกลิ่นเหม็น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนต่อการป่วยเป็นโรคระบบทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง และโรคระบาดทางน้ำอื่นๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมโครงการบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ระยะที่ 2 สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานครได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสม สำรวจและออกแบบรายละเอียด ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ถึง 2 ครั้ง ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดเห็นด้วยถึงความจำเป็นในการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียมีนบุรีระยะที่ 2 เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำคลองในชุมชน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...