ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
รัฐบาลแจงกู้เงิน 8 ปีติด ยันยังสามารถชำระหนี้ได้
17 ก.พ. 2565

เพจไทยคู่ฟ้าของรัฐบาล ได้เผยแพร่ การชี้แจงการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ ที่ทางการกระทรวงการคลัง เป็นผู้ชี้แจงว่า

รัฐบาลมีบทบาทที่สำคัญในการดำเนินนโยบายการคลังผ่านการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งมีการกู้เงินมาดำเนินการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านโครงการลงทุนด้านต่างๆ ตลอดจนลดผลกระทบที่เกิดจากวิกฤติหลายรูปแบบการกู้เงินที่สำคัญของรัฐบาล คือ

1) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งสนับสนุนการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว เพื่อยกระดับการพัฒนาของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2557 – 2564) รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อวางรากฐานการพัฒนาและเร่งรัดการพื้นฐานเพื่อกระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่รัฐมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุดถึง 178 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 2.6 ล้านล้านบาท ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

2) การกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. COVID-19 การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นวงกว้าง ทำให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยหดตัวและถดถอยอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหา เยียวยาทุกภาคส่วน และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวและกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และจะต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยในระยะต่อไปให้มีความพร้อมและสามารถพัฒนาให้เกิดการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนซึ่งรัฐบาลไทยและรัฐบาลอีกหลายประเทศทั่วโลกก็ได้ดำเนินนโยบายการคลังเพื่อต่อสู้กับวิกฤติดังกล่าวเช่นเดียวกัน

ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง โดยมีเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDPรวมอยู่ด้วย และได้มีการปรับกรอบฯ หลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและการคลังของประเทศในขณะนั้นสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เป็นเพียงตัวชี้วัดหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาณหนี้คงค้างต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกรอบที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจและการคลังของประเทศในแต่ละช่วงเวลาในปี 2561 รัฐบาลได้ตรากฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาวินัยทางการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งเห็นได้จากมาตรา 50 แห่ง พ.ร.บ. วินัยฯ มีเจตนารมณ์ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ โดยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP รวมอยู่ด้วย และให้คณะกรรมการฯ ทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนดังกล่าวอย่างน้อยทุก 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุดอย่างเหมาะสมซึ่งในปี 2564 เป็นปีที่ครบกำหนดเวลาและต้องมีการทบทวนกรอบดังกล่าว อย่างไรก็ดี ขอเรียนว่า กรอบเพดานที่กำหนดไว้ในครั้งแรกที่ร้อยละ 60 เป็นกรอบที่กำหนดขึ้นในช่วงภาวะปกติ

เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าการระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจของทั่วโลกและประเทศไทย หดตัวลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ดังนั้น การก่อหนี้เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาประชาชนในชาติเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใดย่อมมีเจตนารมณ์เดียวกันในการที่จะเห็นประชาชนและภาคธุรกิจสามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้จึงเห็นว่าการขยายเพดานหนี้สาธารณะในครั้งนี้เป็นการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาและรองรับการเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจ รวมทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาวะวิกฤติอันเกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

อย่างไรก็ดี ในอนาคตหากสถานการณ์เศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติก็ยังสามารถทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนดังกล่าวได้ด้วยเช่นกันทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะในปัจจุบันยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาการคลังแต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้ (Debt affordability) โดยกระทรวงการคลังได้ติดตามสัดส่วนภาระดอกเบี้ยต่อประมาณการรายได้ประจำปีอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ประมาณการสัดส่วนภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลต่อรายได้ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8 และในอีก 5 ปีข้างหน้ายังคงต่ำกว่าระดับเกณฑ์มาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 10

รัฐบาลขอเน้นย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุด คือ วินัยทางการคลัง ซึ่งที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ระดับความน่าเชื่อถือของประเทศให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีและน่าลงทุน (Investment Grade) ส่งผลให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติเชื่อมั่นความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาล รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองด้านความมีเสถียรภาพและความโปร่งใสของฐานะการเงินการคลังของประเทศ รวมถึงการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาลอีกด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...