ตามที่รัฐบาลได้กําหนดนโยบายที่สําคัญในการบริหารประเทศโดยให้การเพิ่มศักยภาพ ทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นเรื่องสําคัญที่ต้องเร่งดําเนินการ โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่ต้องอาศัยเวลาดําเนินการในระยะยาว แต่ต้องเร่งดําเนินการให้ทันต่อการพัฒนา และความต้องการของประชาชนเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ตามมาอย่างต่อเนื่องโดยเร็ว เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่งที่มีมูลค่าสูงและต้องใช้เทคโนโลยีทันสมัย แต่ทั้งนี้การดําเนินการทุกขั้นตอนต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงหลักการ และแนวทางของข้อตกลงคุณธรรม จึงจําเป็นต้องกําหนดให้มีกระบวนการกํากับการจัดซื้อจัดจ้าง ของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางดังกล่าว อันจะนําไปสู่การสร้างความเชื่อมั่น ให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่เข้าร่วมในการดําเนินกิจการของรัฐ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และเกิดความไว้วางใจแก่ประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูประเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และส่งผลต่อภาพลักษณ์อันดีของประเทศ โดยเฉพาะในระหว่างรอการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาจึงจะมีผลใช้บังคับ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้ “การจัดซื้อจัดจ้าง” หมายความว่า การดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุและการพัสดุ ของหน่วยงานของรัฐที่มีวงเงินตั้งแต่ห้าพันล้านบาทขึ้นไป ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้อยู่ภายใต้ คําสั่งนี้ “พัสดุ” หมายความว่า พัสดุตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ “การพัสดุ” หมายความว่า การพัสดุตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับการจัดซื้อจัดจาง้ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน และสถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐ ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการกํากับการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย
(๑) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อํานวยการ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จํานวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างของแต่ละโครงการ นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับ โครงการนั้น ๆ เพิ่มขึ้นอีกได้จํานวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
(๔) อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐจํานวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ การประชุมของคณะกรรมการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด ข้อ ๓ ประธานกรรมการตามข้อ ๒ (๑) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๒ (๓) ให้พิจารณาแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็น ประโยชน์ต่อการกํากับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่น ในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าท่ของพรรคการเม ี ือง การดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีกําหนด ข้อ ๔ ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ ๒ ต้องไม่เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียทั้งทางตรง และทางอ้อมในโครงการที่จะมีการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งตนมีหน้าที่และอํานาจในการกํากับดูแลตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ หากมีกรณีดังกล่าวให้เลขานุการหรือคณะกรรมการรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อวินิจฉัย สั่งการตามที่เห็นสมควร ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ (๑) กํากับ เร่งรัด ติดตาม และตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทําแผนการจัดซื้อจัดจ้างจนสิ้นสุดสัญญา ทั้งนี้ ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นไปตามมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ หรือไม่มีความซับซ้อน หรืออยู่ภายใต้ข้อจํากัดตามกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการอาจตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างเพียงบางส่วนหรือบางขั้นตอนก็ได้ (๒) สั่งการให้หน่วยงานของรัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างกระทําการหรือไม่กระทําการใด ๆ หรือดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการใด เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสและเป็นธรรมตามหลัก ธรรมาภิบาล (๓) รับและพิจารณาข้อร้องเรียนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งจาก ผู้สังเกตการณตามข ์ ้อตกลงคุณธรรม เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ดังต่อไปน
ก. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ข. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ค. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ หรือข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับพัสดุ หรือการจัดซื้อจัดจ้างอื่นของหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ง. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔) เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ (๕) เรียกให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจําเป็น (๗) ดําเนินการอื่นใดที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม และตรวจสอบ การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ (๘) รายงานผลการดําเนินการตามคําสั่งนี้ต่อนายกรัฐมนตรี (๙) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ในกรณีที่พิจารณาข้อร้องเรียนตาม (๓) แล้วรับฟังได้ว่า หน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไป ตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือมีการกระทําที่ส่อว่าเกิดการทุจริต ให้คณะกรรมการมีอํานาจ แจ้งให้สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องพิจารณาดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจ หรือคณะกรรมการจะแจ้งหรือแนะนําให้หน่วยงาน ของรัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่เห็นว่ามีเหตุจําเป็นจะเสนอแนะ ให้พิจารณาระงับการดําเนินการบางขั้นตอนไว้ก่อน หรือให้ดําเนินการต่อโดยเริ่มจากขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใด ตามที่เห็นสมควรก็ได้ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการดําเนินโครงการของรัฐที่ใช้งบประมาณ ในการดําเนินการที่มีวงเงินสูง หรือโครงการของรัฐที่อยู่ในความสนใจของประชาชน นายกรัฐมนตรี อาจมอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการ โครงการดังกล่าวท่ีไม่อยู่ภายใต้บังคับของคําสั่งนี้ได้ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนข้อมูลตามที่คณะกรรมการร้องขอ ข้อ ๗ ให้กรมบัญชีกลางรับผิดชอบงานธุรการและสนับสนุนการทํางานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานที่แต่งตั้งขึ้นตามคําสั่ง
การเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการอื่น ๆ ที่จําเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของกรมบัญชีกลาง ข้อ ๘ ให้โครงการดังต่อไปนี้ และโครงการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีกําหนดซึ่งเป็นโครงการ ที่อยู่ระหว่างการดําเนินการในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ อยู่ภายใต้การกํากับดูแล ของคณะกรรมการตามคําสั่งนี้ (๑) โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย (๒) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น (๓) โครงการก่อสรางรถไฟทางค ้ ู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ (๔) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี - ปากน้ําโพ (๕) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม - หัวหิน (๖) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ (๗) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ข้อ ๙ ในวาระเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอํานาจแต่งตั้งประธานกรรมการและ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๒ โดยมิให้นําความในข้อ ๓ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ แล้วแจ้งคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคําสั่งนี้ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจวินิจฉัย และคําวินิจฉัยให้เป็นที่สุด ข้อ ๑๑ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบ แห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้ ข้อ ๑๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาต