ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กรมหม่อนไหม คิดค้นทำเส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน
22 มี.ค. 2565

กรมหม่อนไหมพัฒนาเส้นไหมไทยพื้นบ้านเพื่อนำมาทำเป็นเส้นพุ่งสำหรับทอผ้า เส้นไหมมีลักษณะกลมแน่น ไม่แตก เป็นวัตถุดิบในการทอผ้าไหมได้ผ้าไหมคุณภาพ เป็นการสร้างอัตลักษณ์ให้กับไหมไทย พร้อมถ่ายทอดให้เกษตรกรสามารถทำได้เองไม่ยุ่งยาก และสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ในกระบวนการทอผ้าประกอบด้วยเส้นพุ่งและเส้นยืนนำมาทอเป็นผืนผ้า ซึ่งในการผลิตเส้นไหมเพื่อใช้ในการทอผ้านั้น เส้นไหมที่ได้จากการสาวไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านส่วนใหญ่จะนำมาทำเป็นไหมเส้นพุ่งเพื่อการทอผ้า เนื่องจากเส้นใยมีความยาวค่อนข้างสั้น คือประมาณ 400 – 800 เมตร แต่นำมาทำเป็นเส้นยืนสำหรับทอผ้าได้ยาก กรมหม่อนไหมจึงร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายสุเมธ นวเศรษฐวิสูตร และนายส่งรักษ์ เต็งรัตน ประเสริฐ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 4 นครราชสีมา พัฒนาเทคนิคและวิธีการสาวไหมและตีเกลียว เพื่อให้สามารถทำเส้นไหมยืน และเส้นไหมพุ่งจากไหมไทยพื้นบ้านด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรสามารถทำได้เอง เส้นไหมที่สาวได้มีลักษณะกลม มีการรวมตัวของเส้นไหมดี เส้นไหมมีความแน่น ไม่แตก เมื่อนำไปทอผ้าจะได้ผ้ามีคุณภาพดีมาก เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการสาวไหมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพเส้นไหมโดยรวมของประเทศ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทอผ้าไหมได้ผ้าไหมคุณภาพ เป็นการสร้างอัตลักษณ์ให้กับไหมไทย และสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังสามารถพัฒนาเป็นผ้าไหมลักษณะพิเศษที่มีความนุ่มพลิ้วได้
สำหรับกระบวนการทำเส้นไหมเส้นยืนนั้น มีเทคนิคและวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกรังไหม นำรังไหมรังดีที่ได้จากการคัดเลือกรังมาลอกปุยก่อนที่จะนำไปต้มรัง และนำรังไหมมาต้ม ซึ่งขั้นตอนนี้ มีความสำคัญมาก ต้องทำให้ถูกวิธี เนื่องจากวิธีการต้มรังไหมมีผลต่อประสิทธิภาพการสาวไหมและคุณภาพของเส้นไหม จากนั้นนำเส้นไหมมาตีเกลียวด้วยอุปกรณ์ที่พัฒนาจากเครื่องสาวไหม UB2 เพื่อตีเกลียวให้ได้ตามความต้องการที่ใช้งาน เช่น ทำเส้นยืน ตีเกลียว 400-450 เกลียว/เมตร หรือ 300-350 เกลียว/เมตร ทำเส้นพุ่ง 250-300 เกลียว/เมตร หรือน้อยกว่านั้น
จุดเด่นของกระบวนการนี้ คือ สามารถนำรังไหมรังเหลืองจากไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านมาทำเป็นเส้นไหมได้ตามความต้องการ ทั้งไหมเส้นพุ่งและไหมเส้นยืน เส้นไหมที่สาวได้มีลักษณะกลม มีการรวมตัวของเส้นไหมดี เส้นไหมไม่แตก สามารถนำมาทอผ้าไหมคุณภาพสูง หรือผ้ากิโมโนได้ นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถทำได้เอง ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน และสามารถสาวเส้นและตีเกลียวได้ปริมาณมากกว่าวิธีเดิม อีกทั้งยังสามารถควบคุมขนาดและคุณภาพของเส้นไหมได้ตามความต้องการและตามมาตรฐานที่กำหนดด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...