ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
“การพัฒนาเครือข่ายชุมชนการจัดการวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรเพื่อลดจุดความร้อน (Hot spot) และฝุ่นละออง PM2.5 ในจังหวัดน่าน”
11 ก.ค. 2568

โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายชุมชนการจัดการวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรเพื่อลดจุดความร้อน (Hot spot) และฝุ่นละออง PM2.5 ในจังหวัดน่าน” ลงพื้นที่พัฒนาแนวทางลด PM2.5 ผ่านการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ
เวียงสา – 10 กรกฎาคม 2568


โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายชุมชนการจัดการวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรเพื่อลดจุดความร้อน (Hot spot) และฝุ่นละออง PM2.5 ในจังหวัดน่าน” จัดกิจกรรมลงพื้นที่ ณ บ้านผาเวียง ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เพาะเห็ดเศรษฐกิจ เช่น เห็ดฟาง และ เห็ดโคนน้อย แทนการเผาทิ้งในไร่นา ซึ่งเป็นต้นเหตุของฝุ่น PM2.5
กิจกรรมนำโดย ผศ.แสงแก้ว คำกวน ผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดเศรษฐกิจ (ข้าราชการบำนาญ) ผศ.ดร.เอกชัย ดวงใจ หัวหน้าโครงการ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

โครงการได้รับการสนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 40 ราย  ภายในกิจกรรม มีการถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติจริง อาทิ การเตรียมวัสดุเพาะจาก ฟางข้าว, เศษข้าวโพด, ใบไม้แห้ง การผสมหัวเชื้อเห็ด การควบคุมความชื้น เทคนิคการดูแลรักษาให้ได้ผลผลิตคุณภาพ
นอกจากนี้ ยังมีการแนะนำการจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่ม และเสริม ความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน
กิจกรรมครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของ แหล่งเรียนรู้ต้นแบบในชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อขยายองค์ความรู้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดน่าน นำไปสู่การลดปัญหา PM2.5 อย่างยั่งยืน และผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชุมชนต่อไป

#############

 กัลยา สองเมืองแก่น  จ.น่าน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 กรกฎาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
17 ก.ค. 2568
การแพทย์เป็นหนึ่งในระดับความสำคัญของการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษยชาติ ซึ่งนอกจากตัวนายแพทย์ผู้ทำการรักษาแล้ว อุปกรณ์ทางการแพทย์แน่นอนย่อมมีความสำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งในยุคสมัยใหม่นี้ด้วยแล้ว อุปกรณ์ทางการแพทย์ได้พัฒนาไปได้รวดเร็วยิ่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยเรา...