เมื่อเอ่ยถึงมหาวิทยาลัยที่มีความเข้มแข็งในด้านกีฬา คงไม่อาจมองข้ามมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีไปได้เพราะด้วยความสำเร็จในการคว้าเหรียญทองกีฬามหาวิทยาลัยมาถึง 2 สมัยซ้อน แถมยังเป็นเบ้าหลอมปลุกปั้นให้เกิดนักกีฬาระดับชาติได้อีกด้วย อย่างเช่น นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยดีกรีแชมป์โลก น้องเมย์-รัชนก อินทนนท์ ทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่เพียงเป็นแหล่งสร้างความรู้ให้กับนักศึกษาแต่ยังเป็นสถานที่สร้างทักษะทางกีฬาและร่างกายอันดับต้นๆ ของประเทศอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จดังกล่าวข้างต้น หากจะมองหาบุคคลที่อยู่เบื้องหลังที่มีนัยสำคัญแล้ว คงจะไม่เอ่ยถึงรองอธิบดีการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และคณบดีคณะรัฐศาสตร์ที่ชื่อรศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรืองไปไม่ได้ที่วัยเพียง 41 ปี แต่เคยเป็นั้งผู้บริหารด้านการศึกษาและเป็นกุนซือในการสร้างนักกีฬาคุณภาพไปพร้อมๆ กัน ขณะที่ในด้านการเมือง ก็เคยเป็นถึงผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ก่อนจะมาดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในปัจจุบัน
ด้านการศึกษา รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ หรือ พี่ดร๊าฟกล่าวกับ อปท.นิวส์ว่า ในอดีตเคยเรียนอาชีวศึกษาเคยร่ำเรียนการบริหารศึกษา และศึกษาระดับปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีและหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายสถาบันพระปกเกล้า (ปรม.), หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง เป็นผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย (ปนป.)
อาจารย์ดร๊าฟ ยอมรับว่า โดยส่วนตัวด้วยแล้วเป็นคนมีความชื่นชอบด้านการกีฬา แต่ที่หันไปเลือกเรียนสาขาการบริหารการศึกษา เนื่องจากทางบ้านทำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในการจัดตั้งมาหวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีมาก่อน ทำให้อาจารย์ดร๊าฟจึงต้องการทำงานด้านการศึกษาซึ่งบางครั้งก็ต้องเลือกในสิ่งที่ใช่ก่อนทำในสิ่งที่ชอบ จนเมื่อทำได้สำเร็จแล้วระดับหนึ่ง จึงได้พูดคุยกับคุณแม่ และขอทำเรื่องเกี่ยวการกีฬาควบคู่กับการศึกษา ซึ่งอาจารย์ดร๊าฟ ได้เล่าถึงมุมมองในการทำงานดังกล่าวเอาไว้ว่า
“ผมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เพระว่าคนเราหากทำงานที่โดนบังคับ ทำไปมันก็เหนื่อย ทำไปก็ไม่อยากทำต่อ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตของเรา คนเราไม่ได้อยู่ได้ด้วยเงินเพียงอย่างเดียว มันมีเรื่องของความสุข ถ้าได้ทำงานที่ตนเองรัก มันก็จะไม่เหนื่อย และมีพลังที่อยากจะทำ อย่างไรก็ตาม เริ่มแรกผมก็คิดว่า เราต้องเอาชีวิตรอดเอาไว้ก่อน จึงควรทำในสิ่งที่เรามีพื้นฐานเมื่อประสบความสำเร็จจึงค่อยไปทำงานที่รัก เพราะถึงจะพลาดอย่างไรผมก็มีงานที่เป็นพื้นฐานที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว”
อาจารย์ดร๊าฟเผยต่อว่า จากความชื่นชอบด้านกีฬาเป็นทุนเดิม ประกอบกับคนไทยมีความสามารถด้านกีฬาอยู่หลายประเภท จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาวงการกีฬาให้ครบวงจร แต่การจะพัฒนาได้นั้น ต้องทำให้กีฬากลายเป็นอาชีพที่น่าสนใจ คือ ต้องเป็นอาชีพที่ทำให้นักกีฬาประสบความสำเร็จมีชีวิตที่ดี มีเงินและมีฐานะที่ดีขึ้น และคนที่จะเป็นนักกีฬาได้นั้น ต้องมีความพร้อม เป็นคนเก่ง มีไหวพริบปฏิภาณ มีการตัดสินใจรวดเร็วและแม่นยำ เป็นต้น ซึ่งเป็นการก้าวผ่านแนวคิดเดิมๆ ที่ว่า กีฬาคือทางเลือกของคนไม่มีงาน ดังนั้นจึงอยากยกระดับชีวิตของนักกีฬาให้ดีเป็นเบื้องต้น
ต่อมาเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดนี้ จึงได้ร่วมมือกับสมาคมทางการกีฬาต่างๆ เช่น สมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทย สมาคมตระกร้อแห่งประเทศไทย สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในการผลักดันอาชีพด้านการกีฬาให้เป็นอาชีพหลัก พร้อมให้การสนับสนุนด้านการศึกษา เท่ากับว่าเมื่อเป็นนักกีฬาดาวรุ่งแล้ว ยังสามารถที่จะจบปริญญาตรีไปพร้อมกันได้ด้วย คือเป็นทั้งกีฬาเด่น มีการศึกษาและมีอาชีพที่ดี ถือเป็นการสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับนักกีฬาอย่างยั่งยืน ด้วยเหตนี้ ทำให้ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งทีมกีฬา เกิดเป็นสโมสรกรุงเทพธนบุรี เพื่อผลิตนักกีฬานักคุณภาพผ่านกระบวนการความร่วมมือหลายๆ ฝ่าย ทำให้ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยสามารถสร้างนักกีฬาชื่อดังมากมาย และเมื่อนักกีฬาเหล่านี้ประสบความสำเร็จ ก็จะนำชื่อเสียงกลับมาสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างเช่นน้องเมย์-รัชนก อินทนนท์ ที่ประสบความสำเร็จด้านกีฬา หรือล่าสุด น้องเทนนิสที่ปีที่แล้วเพิ่งได้เหรียญทองโอลิมปิกก็เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่งด้วย
และจากความสำเร็จนี้เองได้ส่งผลให้ธุรกิจการกีฬาเป็นไปในทิศทางที่สดใสและมีผลตอบรับที่ดี เช่น ประเทศเมืองหนาวมีการมาเข้าแคมป์ที่มหาวิทยาลัยช่วงหน้าหนาวประมาณ 2-3 เดือนกลายเป็นรายได้เข้ามาสู่มหาวิทยาลัยอีกช่องทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังช่วยให้น้องๆ นักศึกษามีโอกาสฝีกงานเกี่ยวกับศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมอีกทางหนึ่งด้วย
จากความสำเร็จในการสร้างนักกีฬาที่โดดเด่นพร้อมอนาคตทางการศึกษาที่มั่นคงนี้เป็นการตอกย้ำถึงความสำเร็จที่มาจากรากฐานทางแนวคิด “การทำสิ่งที่ใช้ ก่อนที่จะทำสิ่งที่ชอบ” โดยอาจารย์ ดร๊าฟ ได้กล่าวย้ำแนวคิดเรื่องนี้เอาไว้ว่า
“โดยส่วนตัวมองว่า ต้องทำสิ่งที่ใช่ให้ประสบความสำเร็จ ถ้าหากสิ่งที่ใช่กับสิ่งที่ชอบเป็นคนละเรื่องกัน ผมจะทำสิ่งที่ใช่ให้แข็งแรงก่อน แล้วเราค่อยทำในสิ่งที่ชอบ เพราะหากเราทำในสิ่งที่ชอบไม่สำเร็จ เรายังมีสิ่งที่ใช่สามารถดูแลชีวิตเราได้ ดูแลครอบครัวเราได้”
ด้านเส้นทางราชการ ดร.ดวงฤทธิ์ เริ่มต้นที่กระทรวงแรงงาน ซึ่งดำเนินงานในการจัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาทักษะแรงงานให้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ โดยการดึงภาคเอกชน เช่น สมาพันธ์ SME สภาอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกันกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการร่วมกันทำหลักสูตร เพื่อให้ได้บุคลากรที่สอดคล้องกับผู้ประกอบการโดยมีกระทรวงฯ เป็นผู้ขับเคลื่อน ซึ่งช่วงนั้นผู้ประกอบการมีความต้องการทำหลักสูตรโดรน ต่อมาทางเอกชนและกระทรวงแรงงาน จึงได้พัฒนาหลักสูตรขึ้นมาทันที โดยไม่ต้องใช้งบประมาณแม้แต่บาทเดียว เป็นต้น
ก่อนที่ต่อมาจะได้ทำงานที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. นับเป็นกระทรวงใหม่ที่มีการผนึกกำลังกับหลายหน่วยงานเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอุดมศึกษา ฝั่งวิทยาศาสตร์ ฝั่งวิจัยและนวัตกรรมเกิดเป็นทีมเพื่อนำไปสู่การพัฒนางานด้านการศึกษาเทคโนโลยีและงานวิจัย ในการจับมือกับภาคเอกชน เพื่อทำการวิจัยให้ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและเพื่อให้ส่งต่อสิ่งดี ๆ จากกระทรวงฯ ไปถึงสังคม จึงได้จักิจกรรมโฆษกกระทรวง อว. ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 3โดยชวนน้องๆ นักศึกษามาร่วมแคมป์กันเป็นเวลา 5 วัน 4 คืน เพื่อให้น้องๆ นักศึกษาได้เพิ่มพูนทักษะในการเป็นโฆษกที่ดี เป็นผู้สื่อสารที่ดี รู้เท่าทันข่าวปลอม พร้อมเป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ จาก อว. ไปถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย
โดยในกิจกรรมนี้ จะมีอินฟลูเอนเซอร์ด้านต่างๆ มาพูดคุยและให้ความรู้กับน้องๆ พร้อมกับวิทยากรแถวหน้าของเมืองไทย เช่น กิจกรรม "เคล็ดลับผู้สื่อข่าวแถวหน้า" โดยนักข่าวผู้มีชื่อเสียง คุณแจ๊คการีน ช่อง ไทยรัฐทีวี, กิจกรรม Workshop สร้างตัวตนให้โดดเด่น โดยคุณปลา ปรภัสสร ดิศย์ดำรง ตำแหน่งมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2014 และรองอันดับ 1 Miss Supranational ประเทศโปแลนด์, กิจกรรม Communication Skill ทักษะการสื่อสารอย่างมืออาชีพ โดยอาจารย์ แอม ณัฎฐา ชาญเลขา ทีมโฆษกกระทรวง อว., กิจกรรม "สื่ออย่างไรให้โดนถูกใจผู้ชม" โดยผู้บริหารช่องโทรทัศน์ อาทิ เช่น JKN หรือ ทีวีพลู, กิจกรรม "Creative thinking" คิดอย่างไรให้นำเทรนด์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านครีเอทีฟของเมืองไทย คุณชุ หรืออาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคิด Content อาจารย์ นิวตัน, กิจกรรมคอนเสิร์ตจาก กันต์ กันต์ และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆอีกมายมาย ที่คัดสรรให้น้องนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแคมป์โฆษก อว.รุ่น 3
หลังจากนั้นก็จะมีกระบวนการทำงานร่วมกับทีมโฆษกของกระทรวง เพื่อส่งต่อสิ่งดีๆ ให้กับประชาชนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ต่อมหาวิทยาลัย หรือชุมชนใกล้เคียงของน้องๆ ก็จตัวอาจารย์ดร๊าฟก็จะทำเนื้อหาลงไปในห้องโฆษก เพื่อให้นักศึกษานำเนื้อหานั้นๆ ไปสื่อสารต่อกับชุมชน หรือพ่อแม่พี่น้อง อีกทั้งกระทรวง อว. มีหน่วยงานมากมายที่จะสามารถรองรับผู้ประกอบการ สนับสนุนสตาร์ทอัพ รวมถึงเสริมพลังให้กับ SME จึงได้นำนวัตกรรมการสื่อสารนี้เป็นกลไกในการสื่อสารโดยตรงจากน้องๆ อีกด้วย
แน่นอนว่าจากการทำงานบางครั้ง ย่อมพบอุปสรรคหรือความเครียดขึ้นได้ สำหรับวิธีการรับมือกับอุปสรรคนั้นอาจารย์ดร๊าฟ ได้แสดงความเห็นเอาไว้ว่า แม้ที่ผ่านมาจะเจอกับอุปสรรคปัญหามาอยู่เสมอ แต่หลักสำคัญคือต้องไม่จมอยู่กับปัญหาแต่จะต้องมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาอย่างดีที่สุด และทำอย่างมีสติ มีสมาธิ
“สำหรับปัญหาถ้าแก้ได้ก็เป็นสิ่งที่ดี ถ้าแก้ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะเราเริ่มจากจุดที่ดี ดังนั้นเมื่อเจออุปสรรคปัญหาก็แก้ไขกันไปอย่างมีสติแก้ได้ก็ได้ แก้ไม่ได้ก็อาจจะต้องข้าม เหมือนมีคำถามอยู่ 20 ข้อ คำถามไหนผมตอบได้ผมก็ตอบแต่หากคำถามไหนที่ผมยังตอบไม่ได้ก็ข้ามปัญหา และเดินหน้าต่อไป”เลขานุการฯ กล่าวตบท้าย