ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
มท.เตรียมนำร่อง 76 อำเภอ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข
24 พ.ค. 2565

กระทรวงมหาดไทย ประชุมเตรียมการ Kick off ขับเคลื่อน “76 อำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ สร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง” เน้นย้ำ บูรณาการดึงศักยภาพทุกภาคีเครือข่ายเพื่อ Change for Good สร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 1/2565 โดยมี ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายวิทยา ทรัพย์เย็น รองผู้อำนวยการองค์การตลาด ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การตลาด ผู้แทนส่วนราชการระดับกรม หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม
นายสุทธิพงษ์  กล่าวว่า โครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย เป็นโครงการที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นเครื่องยืนยันว่าในวาระ 130 ปี กระทรวงมหาดไทยในปี 2565 นี้ พี่น้องชาวมหาดไทย ทั้งส่วนราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จะจับมือร่วมกับภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทยทั้ง 7 ภาคี อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคผู้นำศาสนา ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน ครอบคลุมทั้งส่วนท้องถิ่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนการปกครองท้องที่ ในการร่วมกัน Change for Good ด้วยการปรับปรุงรูปแบบ/วิธีการเพื่อไปถึงเป้าหมายการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขพี่น้องประชาชน ให้เกิดผลลัพธ์ (outcome) ที่ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และภูมิสังคมในปัจจุบัน เกิดความสมบูรณ์แบบเพิ่มมากขึ้น ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้วยความตั้งใจจริง เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้พี่น้องประชาชนมีความสุขที่เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นที่ทุกคนต้องมาร่วมร่วมปรึกษาหารือ แนะนำ ติชม เป็นกำลังใจ ในการขับเคลื่อนผลักดันให้ภารกิจที่เราทำกันขึ้นมาในครั้งนี้ มีความสมบูรณ์แบบ ลดความเสี่ยงที่จะผิดพลาด ด้วยอิสระทางความคิด ด้วยหัวใจ ที่อยากจะช่วยทำให้งานทุกงานของพวกเรา เป็นงานเพื่อพี่น้องประชาชนอย่างเต็มสติกำลัง
“โครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการและสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย จัดขึ้นเพื่อสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการบูรณาการในระดับพื้นที่ เสริมสร้างสมรรถนะการทำงานแบบบูรณาการและสร้างเครือข่ายกำลังคนคุณภาพระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมผ่านการลงมือปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่ ด้วยการนำแนวทางการสืบสานน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จากการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเป็นแนวทางปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม ผ่านการฝึกอบรมพัฒนาข้าราชการหรือบุคลากรในสังกัดให้เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท สืบสานศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และนำผลการดำเนินงานมาเป็นกรอบแนวทางในการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.) อันจะได้มาซึ่ง “ตัวตัวแบบความเป็นเลิศ” แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการการขับเคลื่อนงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ ภายใต้หัวข้อ “การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขจัดความยากจนและรองรับภัยพิบัติ ด้วยการคัดเลือกอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการฯ จังหวัดละ 1 อำเภอ ใน 76 จังหวัด เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำอำเภอนำร่อง อาทิ กิจกรรมการจัด Workshop การจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ (One Plan) กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติหลักสูตรผู้นำนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมการจัด Workshop การจัดทำแผนขับเคลื่อนงานพื้นที่อำเภอนำร่องจังหวัด จากแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ (One Plan) ด้วยการจัดทำแผนดำเนินงานและแผนขับเคลื่อนงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ  ภายใต้โจทย์ “การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขจัดความยากจน และรองรับภัยพิบัติ” ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายสำคัญ คือ “การพัฒนาคนให้รู้จักพึ่งพาตนเองโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม”” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเน้นย้ำ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า การดำเนินโครงการฯ ในครั้งนี้ เป็นความท้าทายการทำงานครั้งใหญ่ของชาวมหาดไทย ด้วยการคัดเลือกอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการฯ เพื่อสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง ที่น้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามหลัก “บวร” คือ บ้าน วัด (ศาสนสถาน) โรงเรียน เป็นการบูรณาการการทำงานทั้ง 7 ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ที่ถือเป็นกำลังสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ในการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ สร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้พี่น้องประชาชนมีความสุขเพิ่มขึ้น และขจัดความทุกข์ให้หมดไปได้อย่างยั่งยืน หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นการนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal : SDGs) ทั้ง 17 หมุดหมายเป็นขั้นต่ำ เพื่อทำให้เกิดคุณค่าของงาน และจารึกในหัวใจ ในความทรงจำของชาวมหาดไทยที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นกับพี่น้องประชาชน ในฐานะเป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เป็นผู้นำในการริเริ่มและบริหารจัดการดึงทุกภาคส่วน ทำให้ 7 ภาคีเครือข่ายภายใต้การนำของข้าราชการ มุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งที่ดีในสังคม
ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า การขับเคลื่อนโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการฯ ของกระทรวงมหาดไทยในครั้งนี้ ถือเป็นการ Challenge ในการสร้างพลังการขับเคลื่อนของ 7 ภาคีเครือข่าย ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง และสมาคมแม่บ้านมหาดไทยจะได้ร่วมนำนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในครั้งนี้ เพื่อกำหนดแนวคิดในการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการฯ ทั้งนี้ แนวความคิดที่กำลังจะได้รับการนำเสนอจาก 76 อำเภอนำร่องในครั้งนี้ ถือเป็น “Momentum for Change” สอดคล้องกับแนวคิดของสหประชาชาติในการใช้ทุกกิจกรรมที่เกิดจากความสำเร็จที่เกิดเป็นโครงการที่ทำได้จริง (Success Case) ที่ทำให้เกิดการ Change for Good ซึ่งจะเป็นโมลเดลให้กับอำเภออื่น ๆ ทั่วประเทศ ในการประยุกต์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีจากการระดมพลังภาคีเครือข่ายและพี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง 
นายสุทธิพงษ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ทุกกรม และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการฯ  เพื่อบังเกิดผลประโยชน์อย่างสูงสุดกับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการทำงานในยุคนี้ ต้องมีการสื่อสารสร้างการรับรู้ความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน หรือเรียกว่า “การสื่อสารสังคม” ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง และกว้างขวาง รวมทั้งจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ ด้วยการบูรณาการข้อมูลเป็น Big Data เพื่อยังประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชน และยังประโยชน์กับทุกกระทรวง ทบวง กรม เป็นช่องทางสำคัญในการเก็บรวบรวมความเปลี่ยนแปลงหรือความดีงามของการดำเนินโครงการ เฉกเช่นการร่วมกันประชุมในวันนี้ เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่พวกเรามานั่งด้วยกัน มาคุยด้วยกัน ซึ่งเรามีข้อมูลจำนวนมากเลย ดังนั้น ทุกกรมต้องมีกระบวนการทำงานเชิงรุก เพื่อสนับสนุนการทำงานของทุกจังหวัด อำเภอ และทุกภาคส่วน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง Change for Good ให้เกิดสิ่งที่ดีกับสังคมไทยอย่างแท้จริง
“วันนี้จะเป็นวันที่พวกเราจะได้ร่วมกันสานต่ออุดมการณ์ พลังแห่งการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของคนมหาดไทยที่มีมาเป็นเวลากว่า 130 ปี ให้เพิ่มมากขึ้น  ความสำเร็จจะเพิ่มขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่มีคนที่ร่วมหัวจมท้ายไปกับผู้นำ  อันหมายความว่า นิ้วทั้ง 5 นิ้วของมือสำคัญ จะให้มือหรือฝ่ามือทำงานโดยไม่มีนิ้วไม่ได้ ถ้านิ้วทุกนิ้วร่วมกับมือร่วมกับแขน ช่วยกันขยับเขยื้อนทำในสิ่งที่พวกเรามั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ดีร่วมกัน สิ่งที่ดีต้องเกิด เมื่อสิ่งที่ดีเกิด คนได้ประโยชน์คือ “พี่น้องประชาชน” และสะท้อนถึงเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของคนมหาดไทย ในฐานะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อุทิศกาย อุทิศตน อุทิศสติปัญญา กำลังความสามารถ ทุกลมหายใจ ทุกโอกาสของชีวิต เพื่อประชาชน” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...