ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ผู้ตรวจการแผ่นดินเดินสายปลุกพลังใจวัยสตาร์ทอัพ
25 พ.ค. 2565

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงพื้นที่ทั่วประเทศ ตรวจติดตามโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับที่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อให้มีทักษะด้านอาชีพหลังจบการศึกษาภาคบังคับก่อนที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะแรงงานฝีมือ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับของจังหวัดกาญจนบุรี ณ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานกาญจนบุรี ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งในปีนี้มีนักเรียนสนใจสมัครเข้าฝึกอบรม จำนวนมากโดยมีการเปิดหลักสูตรสาขาที่ฝึกอบรม จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม (ผ้า) และช่างซ่อมจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ฝึกภาคทฤษฎีที่สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานกาญจนบุรี จำนวน 2 เดือน และฝึกงานจริงในสถานประกอบกิจการ จำนวน 1 เดือน เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้วสำนักงานจัดหางานจังหวัดกาญจนบุรีจะจัดหาแหล่งงานรองรับการทำงาน ซึ่งขณะนี้มีสถานประกอบการจองตัวแล้วเมื่อเรียนจบไดังานทันที และเมื่อทำงานไปสักระยะจนมีอายุ 18 ปี สามารถเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเมื่อทดสอบผ่านจะได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เช่น ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ระดับ 1 จำนวน  440  บาท/วัน และสูงถึง 660 บาท/วัน เมื่อผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระดับ 3 ซึ่งทุกหลักสูตรเมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพอิสระควบคู่งานอื่น ๆ เป็นทางเลือกในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี

นายสมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในปัจจุบัน ตามกฎหมายของการศึกษาไทย เด็กทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) และเมื่อเด็กเรียนครบตามเกณฑ์แล้ว แนวโน้มส่วนใหญ่ของเด็กๆ ที่ครอบครัวมีภาระทางการเงินหรือเด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็มักจะไม่เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงบางครอบครัวไม่อยากให้ลูกต้องหยุดเรียน แต่ก็ไม่มีเงินที่จะส่งเรียน

จนจบได้ ด้วยภาระที่ครอบครัวต้องแบกรับมากมาย เด็กกลุ่มนี้พอเรียนถึงชั้น ม.3 ก็เลือกที่จะทำงาน หาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว หากรายได้ไม่พอกับรายจ่ายก็อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมาเพราะกลายเป็น “แรงงานไร้ฝีมือ” คือ ไม่มีความรู้เชิงลึก ไม่มีทักษะเฉพาะ เมื่อเป็นเช่นนี้ ค่าแรงที่ได้รับก็มักจะถูกกดให้ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ บางครอบครัวรายได้ไม่พอใช้ ก็ต้องหันหน้าเข้าสู่เส้นทางที่ไม่สุจริต ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมตามมา แต่ถ้าหาก ได้โอกาสในการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแล้ว จะช่วยให้นักเรียนเข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะ “แรงงานมีฝีมือ” และจะทำให้มีรายได้ ค่าจ้างที่สูงขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดี



ทีมข่าวกาญจนบุรี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...