ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
ความสัมพันธ์ อาเซียน-จีน
31 ก.ค. 2565

โลกของจีน โดย ชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ

ความสัมพันธ์ อาเซียน-จีน

ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่าง “จีนกับภูมิภาคอาเซียน” ที่มีประชากรรวมกันมากกว่า 2,000 ล้านคน ได้พัฒนามาถึงปีที่ 31 เพราะต่างฝ่ายได้ให้ความสำคัญต่อกันในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ต่อยอดจากการประกาศ “สถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์รอบด้าน” ในการประชุมทางไกล จีน-อาเซียน ซัมมิท เมื่อปลายปี 2021

ในเวทีสัมมนาเรื่อง “ผู้นำรุ่นใหม่ไทย กับประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน อาเซียน-จีน” ที่จัดโดย          สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมกับศูนย์สื่อสารเอเชียแปซิฟิก สำนักสารนิเทศต่างประเทศแห่งประเทศจีน เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ อาคารบรมราชกุมารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษนั้น ต่างมีมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์อาเซียน-จีน ที่ขอคัดย่อมาเสนอดังนี้

นายอภิสิทธิ์ กล่าวในตอนหนึ่งว่า กรณีของประเทศจีนนั้น เป็นที่ชัดเจนว่า ในรอบหลาย 10 ปีที่ผ่านมา เป็นประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนภายในประเทศและได้มีความพยายามที่จะกระจายความเจริญต่างๆ ให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของจีนจึงนำมาสู่บทบาทในเวทีระหว่างประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งย่อมมาควบคู่กับความรับผิดชอบที่สูงขึ้นและการถูกตรวจสอบจากประชาคมโลกพร้อมๆ กันไป

สำหรับ “อาเซียน” นั้น ก็ได้รับการยอมรับว่า เป็นภูมิภาคซึ่งมีพลังสำคัญทางด้านเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน

และยังสามารถเป็นศูนย์กลางในการสร้างเวทีระหว่างประเทศ เช่น การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เวทีเกี่ยวกับความมั่นคงในภูมิภาค หรือ ARF

แต่ทั้งอาเซียนและจีนก็ยังถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน และหลายครั้งเงื่อนไขเหล่านี้ก็ถูกนำมาเป็นอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางด้านการค้าการลงทุนและเศรษฐกิจด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค จะต้องใคร่ครวญและแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาคมโลกต่อไป

อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ความร่วมมือที่ได้กล่าวมา จะต้องถูกนำไปขยายผลและเป็นแบบอย่างของการส่งเสริมความเป็นพหุภาคีในความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนา “ระเบียบโลกใหม่” หลักการสำคัญที่ทั้งจีนและอาเซียจะต้องยืนยันคือ การส่งเสริมความร่วมมือพหุภาคีแบบเปิด ไม่ใช่แบบปิดกั้น และเป็นความร่วมมือที่ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคของทุกภาคีโดยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

“กฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ที่มีการพัฒนาจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายและความแตกต่างของประเทศที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่การกำหนดมาตรฐานฝ่ายเดียวจากประเทศที่มีอำนาจมากกว่า หากจีนและอาเซียนสามารถประกาศหลักการเหล่านี้ เป็นการทั่วไปในการสานความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอื่นๆ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก”

ด้านนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีน กล่าวว่า จีนถือว่าอาเซียนมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการทูตกับประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด จีนเป็นประเทศแรกในกลุ่มคู่เจรจาของอาเซียนที่เข้าร่วม“สนธิสัญญา มิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เป็นประเทศแรกที่จัดตั้งหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์กับอาเซียน เป็นประเทศแรกที่สนับสนุนอย่างชัดเจนให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางความร่วมมือในภูมิภาค เราส่งเสริมความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจกันผ่านการสื่อสารที่เป็นมิตร แสวงหาจุดร่วมและสงวนความแตกต่างในการแก้ไขปัญหา ร่วมกันพิทักษ์สันติภาพและความสงบสุขในเอเชียตะวันออก และร่วมกันรักษาทิศทางที่ถูกต้องของความร่วมมือในเอเชียตะวันออก

อาเซียนกับจีนมีความสัมพันธ์ที่ดี โดยจีนเข้าไปมีความสัมพันธ์โดยตรงในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป ทั้งด้านการศึกษา การเมือง การค้าการลงทุน อุตสาหกรรมบันเทิง แม้แต่ในด้านข่าวสาร หากอาเซียนที่มีประชากร 600 ล้านคน จับมือกับจีนที่มีประชากร 1,400 ล้านคน รวมเป็น 2,000 ล้านคน จะเป็นพลังที่แข็งแกร่งมาก

ในยุคระเบียบโลกใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-จีน ยังคงมีหลากหลายมิติ ทั้งความเป็นหุ้นส่วน ความเป็นเพื่อน หรือความเป็นพี่น้อง อย่างไรก็ตาม สมาชิกอาเซียนยังต้องเรียนรู้จีนอีกหลายเรื่องให้ลึกซึ้ง อาทิ โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ที่จีนต้องการต่อเชื่อมนานาประเทศ ความสำเร็จในการขจัดความยากจนของจีน การเสียสละของผู้นำจีน และการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาประเทศ

จีนเป็นเพื่อนบ้านที่ดี เพื่อนที่ดี และหุ้นส่วนที่ดีของอาเซียนทั้งอดีตและปัจจุบัน และจะเป็นในอนาคตตลอดไปด้วย จีนมีความแน่วแน่ในการให้ความสำคัญกับอาเซียนเป็นลำดับแรกในการทูตกับประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนความเป็นปึกแผ่นของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียน สนับสนุนให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางความร่วมมือในภูมิภาค และสนับสนุนให้อาเซียนมีบทบาทมากขึ้นในกิจการระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ จีนยินดีร่วมมือกับอาเซียนอย่างจริงจังในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างกัน ร่วมกันสร้าง “บ้านห้าคุณลักษณะ” ระหว่างจีน-อาเซียน อันได้แก่ สันติภาพ ความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความสวยงาม และความเป็นมิตรไมตรี และก้าวอย่างมั่นคงสู่ชุมชนโชคชะตาร่วมระหว่างจีน-อาเซียนที่มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ทูตหาน กล่าวด้วยว่า จีนส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมเอเชีย ร่วมกันปฏิบัติค่านิยมร่วมของมวลมนุษย์ที่รักสันติภาพ การพัฒนา ความเป็นธรรม ความเสมอภาค ประชาธิปไตยและเสรีภาพ และการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอารยธรรมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อร่วมกันส่งเสริมวัฒนธรรมเอเชียแห่งความปรองดอง การอยู่ร่วมกัน ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง “ร้อยบุปผาบานพร้อมพรักประชันโฉม

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...