นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง หมู่ที่
10 ตำบลท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เป็นเครือข่ายสนับสนุนการทำงานของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตรในด้านดินและปุ๋ยที่บริหารจัดการโดยเกษตรกร และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดินและปุ๋ยของชุมชนและนักเรียน นักศึกษาสถาบันต่าง ๆ ส่งผลให้สมาชิกในชุมชน และบุคคลภายนอกหันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิตและถือเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ทำให้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ระดับเขต เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงที่เกิดภาวะปุ๋ยมีราคาแพง ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้างแห่งนี้ก็สามารถผสมปุ๋ยสั่งตัด โดยใช้แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0, 18-46-0 และ 0-0-60 นำมาผสมกับธาตุอาหารรอง เพื่อเป็นสารเติมเต็มให้แก่ผู้ที่สนใจสั่งซื้อ ทำให้ราคาปุ๋ยลดลง แต่พืชยังคงได้ธาตุอาหารเพียงพอ โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องผสมแม่ปุ๋ยจากกรมส่งเสริมการเกษตร ช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตให้ครอบคลุมสมาชิกได้มากขึ้น ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ผลิตปุ๋ยเคมี-อินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์หมัก เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรในการปรับปรุงบำรุงดิน และลดต้นทุนการผลิต โดยส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอีกด้วย
ด้านนายกฤตภาส สนิทมิสโร คณะกรรมการของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง กล่าวว่า ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรให้ทุกอำเภอมี
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน อำเภอละ 1 ศูนย์ คำเนินการต่อเนื่องมาแล้ว 7 ปี ปัจจุบันมีสมาชิก 34 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่รวม 241 ไร่ สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้กว่า 90,037.60 บาท จากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในสวนยางพารา นอกจากนี้ศูนย์จัดการคินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้างยังช่วยจัดหาและบริการจำหน่ายปัจจัยการ
ผลิต ทำให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสามารถซื้อปัจจัยการผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด โดยเฉพาะแม่ปุ๋ยเคมี
เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จัดซื้อจัดหาแม่ป๋ยเคมี และจำหน่ายปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนอย่างยั่งยืน
"ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้างยึดโมเดลการต่อยอดธุรกิจจากโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ย
(One stop Service) มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้กับเกษตรกรทั้งเกษตรกรในพื้นที่และต่างพื้นที่ และจากการที่ได้รับการพัฒนาให้เป็น Young Smart Farmer และเข้ามาช่วยพัฒนาศูนย์ฯ ในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตและการตลาด ทั้งตลาดทั่วไปและช่องทางตลาดออนไลน์ ผ่าน Facebook
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา, กลุ่มไลน์ศดปช. ระดับจังหวัดและ Line oficial ศดปช.ท่าช้าง
รวมทั้งคิดค้นปรับปรุงสูตรปุ๋ยใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ในอนาคตทางศูนย์ฯ มีแผนส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง หันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และวางแผนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยทางใบ เพื่อจำหน่ายให้แก่
เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ให้ได้ใช้ปุ๋ยทางใบที่มีคุณภาพดีและราคาถูกกว่าท้องตลาค เพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และเพิ่มรายได้ให้กับทางศูนย์ฯ ต่อไป" นายกฤตภาส กล่าว