ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
อลงกรณ์ ชง เพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ เข้าแผนระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก
21 ส.ค. 2565

“อลงกรณ์” ชงโครงการ ”เพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์” ภายใต้แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตกตุลาคมนี้ เผย “กรกอ.” เดินหน้า 10 โครงการ พร้อมเร่งจัดตั้งเขตส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรม 18 กลุ่มจังหวัด หวังกระจายการลงทุนกระจายโอกาสสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ ชูระเบียงเศรษฐกิจ 5 ภาคทั่วประเทศ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) ครั้งที่ 3/2565 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting โดยกล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบ 2 ประเด็นสำคัญ คือ

1) การขับเคลื่อนสาหร่ายพืชเศรษฐกิจใหม่ตามนโยบายอาหารแห่งอนาคต ( Future Food Policy) โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยส่งเสริมสาหร่ายทะเล (Seaweed) และสาหร่ายตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์การแปรรูปและการตลาดมีกรมประมงเป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาและแผนกลยุทธ์เป็นการพัฒนาการผลิตในระดับท้องถิ่นให้เป็นผลผลิตและผลิตภัณฑ์ชุมชน (Community based product) มุ่งเน้นการผลิตสาหร่ายทะเลและสาหร่ายน้ำจืดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านเป็นอาหารคน อาหารสัตว์ อาหารเสริม เวชภัณฑ์ เครื่อง สำอางค์ และน้ำมันชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งและศูนย์เพาะเลี้ยงน้ำจืดเร่งเดินหน้าในการรวบรวมพันธุ์ การเพาะเลี้ยงและการเผยแพร่พันธ์ุ ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่ 50 จังหวัด แบ่งเป็น 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล และ 28 จังหวัดบนบก มีองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นกว่า 2,600 แห่ง เป็นหนึ่งในเครือข่ายการขับเคลื่อน

รวมทั้งการส่งเสริมในระดับอุตสาหกรรมภายใต้ความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มูลนิธิเวิลด์วิว อินเตอร์เนชั่นแนล (Worldview International Foundation) มูลนิธิเวิลด์วิว ไครเมต (Worldview Climate Foundation) และศูนย์ AIC ร่วมดำเนินการ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานัครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาสาหร่ายของศูนย์ความเป็นเลิศ ALEC ของ ”วว.” และบริษัทเอกชน เช่น ปตท.และบางจาก กำลังวิจัยและพัฒนาต่อยอดสาหร่ายพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ซึ่งประธานและคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมเมื่อเร็วๆ นี้ โดยย้ำว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากในการผลิตสาหร่ายเพื่อใช้ในประเทศและทดแทนการนำเข้า ปัจจุบันมีการผลิตสาหร่ายทั่วโลกปีละกว่า 35 ล้านตัน เป็นมูลค่ากว่า 5 แสนล้าน จึงเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่และอาชีพใหม่ของไทย ซึ่งคิดออฟโครงการสาหร่ายทะเลที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดแรกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

2) การรับทราบผลการประชุมหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในวาระที่ประธาน กรกอ.และคณะกระทรวงเกษตรฯ ไปแสดงความยินดีกับนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหาร สอท.ชุดใหม่ โดยมีมติเห็นพ้องต้องกันใน 10 โครงการของ “กรกอ.”ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาแบรนด์สินค้าเกษตร (The Brand Project) สู่เกษตรมูลค่าสูง 2.โครงการอาหารแห่งอนาคต (Future Food) 3.โครงการส่งเสริมการลงทุนเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม Made In Thailand 4.โครงการส่งเสริมสตาร์ทอัพเกษตร และ SME เกษตร 5.โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรระหว่าง สวก. AIC และสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร ของ ส.อ.ท. 6.โครงการมหานครผลไม้และการพัฒนาอุตสาหกรรมผลไม้ และโครงการ Eastern Thailand Food Valley 7.โครงการส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารมาตรฐานฮาลาล 8.โครงการ Smart Agriculture Industry (SAI in the City) 9.โครงการสนับสนุนการจำหน่ายและบริโภคผลไม้ในฤดูกาลผลิตผลไม้ปี 2565 10.การฟื้นฟูและพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้ง สินค้าประมงและปศุสัตว์ รวมทั้งระบบความเย็น (Cold Chain system) 

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ได้แก่ แนวทางและมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในกลุ่มจังหวัดนำร่อง โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าบีโอไอ (BOI) ได้อนุมัติเพิ่มมาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรแล้ว ซึ่งการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของ18 กลุ่มจังหวัด สามารถดำเนินได้ทันทีตามมาตรการใหม่ของบีโอไอ ทั้งนี้ขอให้คำนึงถึงความพร้อมใน 3 ประเด็นหลัก คือ พื้นที่ ผู้ประกอบการ และสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบเป้าหมาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 

อีกทั้งที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.ภาค) ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ในการจัดทำแผนพัฒนาสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารปี 2566 – 2570 ตามศักยภาพแบบครบวงจรให้แล้วเสร็จภายในกันยายนปีนี้ เพื่อประกาศแผนพร้อมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 

โดยที่ประชุมได้ให้ข้อแนะนำในการจัดทำแผนพัฒนาและประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ เรื่องระบบโลจิสติกส์ (Logistics) เข้ามาสร้างโอกาสใหม่ๆ โดยให้ 18 กลุ่มจังหวัด ร่วมกับ กรกอ. และ BOI ดำเนินการร่วมกัน ซึ่งถ้าสามารถบริหาร Logistic ได้ ก็จะสามารถลดต้นทุนได้  เช่น อีสานเกตเวย์มีรถไฟจีน-ลาวเป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศ เวสเทิร์นเกตเวย์หรือประตูตะวันตก มี”กาญจนบุรี-ทวาย”เป็นประตูตะวันตก หรือประตูเหนิอมีเชียงรายใช้เส้นทาง R3A เป็นโลจิสติกส์ลิงก์ (Logistics Link) เป็นตัวอย่าง พร้อมทั้งกล่าวถึงการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารว่า แต่ละภาคไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ต้อง customize สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในพื้นที่ต่อยอด โดยใช้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตเป็นเข็มทิศ เพื่อเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่มากพอที่จะสร้างฐานอุตสาหกรรมเกษตรยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูง โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูป เน้นการบริหารจัดการร่วมกัน เชื่อว่าจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 

นายอลงกรณ์ ยังเปิดเผยด้วยว่า โครงการ Eastern Thailand Food Valley : ETEV ภายใต้ EEC ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ร่วมในการสนับสนุนนั้น ตนและคณะรวมทั้ง กรกอ.ภาคตะวันออก จะลงพื้นที่ภาคตะวันออกในเดือนหน้าเพื่อเร่งจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการผลไม้ครบวงจรที่จันทบุรี พร้อมกล่าวชื่นชมการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ ที่มีการประสานบูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาระหว่าง กรกอ. BOI และสภาพัฒน์ฯ ไปในทิศทางเดียวกัน

“ขณะนี้มี 4 กลุ่มจังหวัด ที่กำลังเดินหน้าจัดตั้งเขตส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรม และในการประชุม กรกอ.ครั้งหน้า ตนจะเสนอโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ (Petchburi Food Valley) ภายใต้เกตเวย์ตะวันตกและระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก (Western Economic Corridor) เป็นโครงการพัฒนาตั้งแต่การผลิตพืช ประมงและปศุสัตว์ การแปรรูปขั้นต้น การใช้เกษตรอัจฉริยะสมาร์ทฟาร์มมิ่งก์ การใข้เครื่องจักรกลเกษตรที่ทันสมัย การพัฒนาศูนย์วิจัยเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกร เป็นหนึ่งใน”เพชรบุรีโมเดล”ดำเนินการโดยภาคเอกชนภายใต้การสนับสนุนของกรกอ.และศูนย์ AIC นอกจากนี้ จะเดินทางไปกาญจนบุรีเพื่อฟื้นฟูและเร่งรัดโครงการประตูตะวันตก โดยเฉพาะโครงการกาญจนบุรี-ทวาย ซึ่งจะประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศจากตะวันออกกลาง อินเดีย จีน อาเซียนและญี่ปุ่น ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเขตส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันตก ยังเป็นโครงการที่มีศักยภาพและอนาคตแต่ช่วงโควิดทำให้เกิดความชะงักงัน ตอนนี้สถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย จึงต้องเร่งขับเคลื่อนโครงการโดยเร็วอีกครั้งหนึ่ง”

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการฯ ที่มีการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ทั้งในส่วนของ สอท. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) ครั้งที่ 3/2565 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายกิจก้อง ตันติจรัสวโรดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยทั้ง 5 ภาค นายณกรณ์ ตรรกวิระพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์  ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมี นางสาวกัลยา สงรอด ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...