ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
เปิดรายชื่อ ตุลากาล - ศาล รธน. ปม ประยุทธ์ 8 ปี ได้ไปต่อ
30 ก.ย. 2565

          เมื่อเวลา 15.00 น. ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย เรื่อง ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบ มาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่

        ล่าสุดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ให้นับวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 6 เม.ย.2560 เป็นต้นไป

       มีรายงานข่าว เผยว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงมติ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ด้วยมติ 6 ต่อ 3 เสียง โดย 6 เสียงข้างมาก ประกอบด้วย 1.นายวรวิทย์ กังศศิเทียม, 2.นายปัญญา อุดชาชน 3.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 4.นายจิรนิติ หะวานนท์ 5.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์, และ 6.นายวิรุฬห์ แสงเทียนส่วน ส่วน 3 เสียงข้างน้อย ประกอบด้วย 1.นายนครินทร์​ เมฆไตรรัตน์, 2.นายทวีเกียรติ​ มีนะกนิษฐ์, และ 3.นาย​นภดล เทพพิทักษ์ โดยประวัติตุลากาลและศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต่อไปนี้

      1."นายวรวิทย์ กังศศิเทียม" ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับเลือกมาโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด บุคคลผู้ซึ่งองค์คณะตุลาการศาลรธน.ด้วยกันก็เคยสงสัย เกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของ "นาย วรวิทย์" ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ว่าต้องพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เหตุมีอายุครบ 70 ปีหรือไม่ จนมีการส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการสรรหาฯ พิจารณาแล้วมีมติเอกฉันท์ 5 ต่อ 0 เสียง ระบุว่า "นายวรวิทย์" ไม่ขาดคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ 

      2."ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ หะวานนท์" รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา กรรมการกฤษฎีกา และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
จบการศึกษานิติศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 

      3."นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม" รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ประวัติการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ.2517) เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 28 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (พ.ศ.2518) นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2525) ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต นายทหารพระธรรมนูญ กองทัพเรือ (25 มีนาคม 2519 – 30 กันยายน 2524 ) ผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุ่งสง และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดแม่สอด ศาลจังหวัดพิษณุโลก และศาลจังหวัดนครสวรรค์ (1 ตุลาคม 2524 – 31 ตุลาคม 2534 ) ฯลฯ 

       4.นายวิรุฬห์ แสงเทียน รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ประวัติการศึกษา  นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา  ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา (1 ตุลาคม 2560) รองประธานศาลฎีกา (1 ตุลาคม 2558)  ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา เป็นต้น 

        5.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด   ประวัติการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง  ประวัติการรับราชการ ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น  ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด 

         6."ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ" ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ รายนี้จะครบวาระ 9 ปีในปีนี้  ประวัติการศึกษา  นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฏหมายอาญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ LL.M. (Master of Law, University of Pennsylvania, U.S.A.) ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงทางกฏหมายอาญา (Diplôme d’Etude Approfondies de sciences criminelles) ปริญญาเอก (เกียรตินิยม) Doctorat en droit pnal mention très honorable, l’University de Nancy II, France  ประวัติการทำงาน ผู้บรรยายพิเศษโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (พ.ศ. 2536-2556)  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทั่วไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (21 มิถุนายน พ.ศ. 2538 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ) กรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 - 26 กันยายน พ.ศ. 2556)  เป็นต้น 

       7."ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์  ประวัติการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับสอง อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาควิชาประวัติศาสตร์)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยPH.D. (INTERNATIONAL STUDIES) WASEDA UNIVERSITY,ประเทศญี่ปุ่น ตำแหน่งทางวิชาการ ศาสตราจารย์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

        8."นายปัญญา อุดชาชน" ผู้ทรงคุณวุฒิทางราชการ   ประวัติการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) นิติศาสตรบัณฑิต  นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) M.A. (Public  Administration), Detroit, Michigan, U.S.A. นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Laws) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Justice Administration) ประวัติการรับราชการ ปลัดอำเภอ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร กระทรวงมหาดไทย เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กระทรวงมหาดไทย นักวิชาการปกครอง กรมการปกครอง เป็นต้น 

        9."นายนภดล เทพพิทักษ์" ผู้ทรงคุณวุฒิทางราชการ  ประวัติการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) Master of Arts (International Relations) , Northern Illinois University(Fulbright Scholarship) ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีตผู้อำนวยการกอง กองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก (พ.ศ. 2540) อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ (พ.ศ. 2542)รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก (พ.ศ. 2546) อธิบดีกรมเอเชียใต้ตะวันออกกลางและแอฟริกา (พ.ศ. 2547)

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...