ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ครม.ตีกลับพ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
23 พ.ย. 2565

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบอนุมัติให้ถอนร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. …. ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อความรอบคอบและให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ

จึงขอนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกลับมาทบทวนและหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะในประเด็นตามหนังสือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจที่สังกัดสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 35 แห่ง และหัวหน้าศูนย์ประสานงานสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ประจำจังหวัด จำนวน 53 จังหวัด ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า เพื่อคำนึงถึงผลกระทบของลูกจ้างตามหนังสือคัดค้าน สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจากวิกฤติโควิด-19

จึงเห็นชอบที่จะทบทวนบทบัญญัติต่างๆ ในร่างพระราชบัญญัตินี้ เพราะโดยที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ครม.มีมติเห็นชอบไปตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2563 และต่อมาอีก 2 ปี คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรได้บรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องเร่งด่วนให้เสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา

ต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ลูกจ้างโดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 35 แห่งและศูนย์ประสานงานสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ประจำจังหวัด 53 จังหวัดทำการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินี้โดยอ้างว่ามีหลักการที่ส่งผลกระทบต่อลูกจ้างมากกว่ากฎหมายฉบับปัจจุบัน ขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญและหลักการสากล

“รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดกว้างและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกฎหมาย ดังนั้นเพื่อคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของลูกจ้างจึงจะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกลับมาทบทวนและหารืออีกครั้ง” น.ส.ทิพานัน กล่าว

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...