ฝ่ายปกครองตำบลช่องสะเดา ร่วมลงพื้นที่ตรวจหาข้อเท็จจริง พร้อมตรวจติดตามระยะ 1ปี โครงการ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาลัยมหิดล และคณะนักศึกษาแพทย์
วันที่ 7 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนณัฎฐ์ ศรีสันต์ นายอำเภอเมืองกาญจนบุรี มอบหมายให้ นายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนันตำบลช่องสะเดา พร้อมด้วย ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนันผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านตำบลช่องสะเดา ลงพื้นที่ หมู่ 5 บ้านแก่งปลากด ร่วมกับนายอรรพล แก่นทรัพย์ (ปลัดงานฝ่ายความมั่นคง) อำเภอเมืองกาญจนบุรี และ ว่าที่ ร.ต. ธนายุทธ พินิจมนตรี ปลัดงานศูนย์ดำรงธรรม อำเภอเมืองกาญจนบุรี พร้อม เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัด กาญจนบุรี
เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาญจนบุรี เจ้าหน้าที่กอ.รมน.จังหวัดกาญจนบุรี เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน จังหวัดกาญจนบุรี เจ้าหน้าที่ทหารมณฑลทหารบกที่17 องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสะเดา ลงพื้นที่ตามที่ได้รับการร้องเรียนจากทางศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ว่าบริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้มีการทำเหมืองแร่ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบในพื้นที่ดังกล่าว
จากการที่ลงตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวมีจำนวนประมาณ 400 กว่าไร่ ได้มีการเบิกป่าปรับพื้นที่เป็นพื้นที่โล่ง จึงได้มีการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงในลำดับต่อไป
ต่อมาที่บริเวณศาลาประชาคม หมู่ที่ 5 บ้านแก่งปลากด ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนัน ตำบลช่องสะเดา (ประธานเครือข่าย ทสม.ต.ช่องสะเดา) พร้อมด้วย ทีมงานเครือข่าย ทสม.ตำบลช่องสะเดา ทีมปกครอง ต.ช่องสะเดา ร่วมการติดตามประเมินผล (ตรวจติดตามระยะ 1ปี โครงการ)
โดย เจ้าหน้าที่กองทุนสิ่งแวดล้อม (ฝ่ายนโยบายและแผน) พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 8 ราชบุรี วิเคราะห์ ติดตามประเมินผล โครงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง โดยการสำรวจพื้นที่ชุมชนในโครงการ พร้อมทั้งลงพื้นที่ชุมชนดูศูนย์เรียนรู้ เรือนเพาะชำกล้าไม้ชุมชน เป็นการเพาะชำกล้าไม้พื้นถิ่น เพื่อการนำมาฟื้นฟูผืนป่าที่เสื่อมโทรมให้เป็นพื้นที่สีเขียวเพิ่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดที่มีความอุดมสมบูรณ์ และการทำฝายชะลอน้ำ เป็นการเพิ่มแหล่งน้ำให้กับสัตว์ป่าและสร้างความชุ่มชื้นให้กับทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร. รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาลัยมหิดล และคณะนักศึกษาแพทย์ (ทีมงานวิจัยวัวแดง จากการทำโครงการตามนโยบายและแผนของกองทุนสิ่งแวดล้อม) พร้อมด้วยนาย เสรี นาคบุญ หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุ
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์ - รายงาน