ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ทช.ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานภาพทุ่นจอดเรือ
11 ธ.ค. 2565

กรมทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานภาพทุ่นจอดเรือ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทะเลฯ และอุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเลแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำเขาหลัก จังหวัดพังงา
      นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) ได้มอบหมายให้ กองป้องกันและปราบปราม พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6(พังงา)ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานภาพทุ่นจอดเรือ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทะเลบริเวณเขาหลัก และประชาสัมพันธ์ เรื่องการดำเนินโครงการอุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเลแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำเขาหลัก จังหวัดพังงา โดยทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้จัดทำโครงการเพื่อลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวดำน้ำ เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล รวมทั้งเป็นพื้นที่ลงเกาะของปะการัง มีการจัดวางปะการังเทียมในรูปแบบต่างๆ เช่น รถมอเตอร์ไซฮาเล่ย์  รถบรรทุก ประติมากรรมเต่าอวตาล เรือรบปลดประจำการ ปะการัง 3D pringting ปะการังเทียมรูปโดม และแท่งสี่เหลี่ยม ปัจจุบันกรมฯ มีการจัดทำร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการอนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลพื้นที่อุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเลเขาหลัก จังหวัดพังงา พ.ศ. ... เพื่อเป็นการกำหนดมาตรการสำหรับการใช้ประโยชน์ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ไม่ให้มีการทำลายนิเวศใต้ทะเลในบริเวณที่จะมีการประกาศ ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มีการพูดคุยกับชาวประมงและผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ โดยมีสมาคมประมงพื้นบ้าน สมาคมประมงจังหวัดพังงา  สถานีตำรวจน้ำพังงา  ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการ ทช. จังหวัดพังงา  อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และ ดร.จตุรงค์ คงแก้ว อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมด้วย
      จากการลงพื้นที่ลาดตระเวนในบริเวณทะเลเขาหลัก จังหวัดพังงา พบว่าเรือประมงที่เข้ามาทำประมงบริเวณชายฝั่ง จอดเรือโดยการผูกทุ่นซึ่งกรมฯ ได้จัดทำไว้เพื่อป้องกันการทิ้งสมอในแนวปะการัง และไม่มีการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย และหลังจากได้ประชาสัมพันธ์เรื่องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการอุทยานฯ เขาหลัก ได้รับข้อเสนอแนะจากชาวประมงพื้นบ้าน โดยมีความต้องการให้กรมฯ ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ และให้ความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วม เกี่ยวกับโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่มีการจัดทำในพื้นที่ให้มากขึ้น และหากในอนาคตมีการประกาศกฎกระทรวงเพื่อกำหนดโซนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล อาจทำให้พื้นที่ทำประมงชายฝั่งลดลง เนื่องจากไม่สามารถเข้าทำประมงในเขตอนุรักษ์ได้ โดยมีความต้องการให้กรมฯ เพิ่มพื้นที่การจัดวางปะการังเทียม เพื่อให้สัตว์น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นทดแทนพื้นที่ที่โดนจำกัดการใช้ประโยชน์
    ทั้งนี้ นายอรรถพล ได้กล่าวขอบคุณถึงชาวประมงที่มีความยินดีให้ความร่วมมือกับกรมฯ ในการร่วมกันอนุรักษ์ และปกป้องทรัพยากรทางทะเล อย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้ทะเลเกิดความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนสืบไป สุดท้ายนี้ ขอความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ประกอบการประมง นักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ ช่วยกันสอดส่องดูแลทรัพยากรพะยูนในแต่ละพื้นที่ หากพบการลักลอบทำลายทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง และป่าชายเลน รวมถึงสัตว์ทะเลหายาก สามารถแจ้งเบาะแสมายังสายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร. 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทรัพยากรพะยูนและสัตว์ทะเลหายากจะได้อยู่คู่กับท้องทะเลไทยไปตราบนานเท่านาน "นายอรรถพล กล่าวทิ้งท้าย"

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...