ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ศูนย์ข้าวพัทลุงเร่งวิจัยพันธุ์ข้าวหายากหวั่นสูญพันธุ์
17 ธ.ค. 2565

นายกฤษณะ ศิริรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง กล่าวว่า ข้าวไร่อยู่คู่กับคนใต้มาตั้งแต่โบราณ เป็นวิถีที่คู่กับคนใต้เหมาะสมกับภูมิสังคมคนใต้ที่ปลูกข้าวไร่แซมยาง ต่อมาข้าวไร่ ได้สูญหายไปหลายสายพันธุ์จนปัจจุบันถือว่าเป็นข้าวที่หายากมาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ ได้สนองพระราชดำริองค์ในหลวง ร.9 ทรงพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทำให้พันธุ์พืชพื้นเมืองได้รับการฟื้นฟูพัฒนาขึ้นมาเป็นอย่างมาก และทางศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงก็ได้สืบสานพระราชดำริทั้ง 2 พระองค์ท่านทำการฟื้นฟูข้าวไร่กลับคืนมา

โดยแนวทางฟื้นฟูคือ การรวบรวมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ดีเด่นที่จะได้อย่างน้อย 10 สายพันธุ์ ตลอดจนการกระจายพันธุ์ข้าวเพื่อให้ชุมชนได้ปลูกเป็นอาหารเป็นรายได้ นอกจากนั้นจะร่วมกับผู้ประกอบการเอกชน ร้านอาหาร เช่น นาญ่าคาเฟ่ ทรายขาวริเว่อร์กรีนฮิลล์ และผู้ประกอบการท่องเที่ยวอื่นๆ ในการส่งเสริมการจัดเมนูข้าวไร่ร่วมกับอาหารดีพัทลุง และส่งเสริมการตลาดในวงกว้างต่อไป และมีแนวคิดฟื้นฟูข้าวไร่วิถีใหม่นอกเหนือจากขยายพื้นที่ในสวนยางปลูกใหม่แล้ว คือการปลูกในพื้นที่ว่างบริเวณบ้าน ที่ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก ซึ่งปกติในช่วงฤดูที่ฝนตกหนักเกษตรกรจะปลูกพืชผักไม่ได้ แต่ข้าวไร่จะเจริญเติบโตได้ดี

นายเอกราช แก้วนางโอ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิชาการ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ผู้รับผิดชอบโครงการข้าวไร่ กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมาศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้สำรวจและรวบรวมข้าวไร่ภาคใต้ไว้และส่งเก็บรักษาที่ศูนย์ปฏิบัติและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จำนวน 33 เชื้อพันธุกรรม ในขณะเดียวกันสำนักเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรโดย รศ.ดร.ร่วมจิตร นกเขา ก็ได้เก็บรวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวไร่ไว้ 50 เชื้อพันธุกรรม ทั้งนี้ ปัจจุบันศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงเป็นหน่วยงานหลักในการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่ภาคใต้ได้ทั้งหมด 83 เชื้อพันธุกรรม นำมาปลูกอนุรักษ์พันธุ์ไว้ในแปลงนาทดลองของหน่วยงาน เช่น ก่ำกัลยา กูนิง ขาว ข้าวเข็ม ขาวไร่ ข้าวไร่โบราณ ข้าวเหลือง ขี้ช้าง จาเต๊ะ จ่านองี จ๋านองี จ่านอนะ จ๋านางสีดอย จ๋าบอแตโม๊ะ เจ๊ะว๊า เจ้ายำกระบี่ เจ้ายำสารขาว แจก แจ๊ะสัน ช่อจำปา ช่อไผ้ ช่อใหม่ ดอกข่า ดอกขาม เป็นต้น

นายธัชธาวินท์ สะรุโณ อดีตผู้เชี่ยวชาญ สวพ. 8 กรมวิชาการเกษตร ให้ข้อคิดเห็นหลังจากการเยี่ยมชมแปลงข้าวไร่ว่า การวิจัยและพัฒนาข้าวไร่ภาคใต้ ควรจะต้องศึกษาคุณค่าทางโภชนเภสัช และความงาม ที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งมีพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่นหลายพันธุ์ การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ ที่ตอบโจทย์ทั้งเรื่องของผลผลิตสูง อายุสั้น เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และให้คุณค่าทางโภชนาการ การขยายเมล็ดพันธุ์ดี การส่งคืนพันธุ์ดีสู่ชุมชน และขยายพื้นที่ปลูกให้เพียงพอต่อการทำตลาดของผู้ประกอบการ.

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...