ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
อย.ตรวจพลาสติกชนิดrPETและ rHDPEอันตรายหรือไม่
28 ธ.ค. 2565

นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่ามีผู้ประกอบการเม็ดพลาสติกรีไซเคิลอยู่ระหว่างรอ อย. อนุมัติการใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลชนิด rPET และ rHDPE เพื่อใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าวอยู่ระหว่างการยื่นเอกสารให้หน่วยประเมินความปลอดภัย จึงยังไม่มีรายงานผลประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลที่ออกให้โดยหน่วยประเมินความปลอดภัยที่ อย.  กำหนดมายื่นให้ อย. ดังนั้น อย. จึงยังไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องแต่อย่างใด

          ทั้งนี้ อย. อนุญาตการใช้ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล ที่ผลิตจากชิ้นส่วนหรือเศษพลาสติกภายในโรงงานผลิตภาชนะบรรจุนำกลับมาหลอมขึ้นรูปเป็นภาชนะบรรจุ หรือที่รีไซเคิลโดยการนำพลาสติกใช้แล้วแปรรูปให้กลับไปอยู่ในรูปของวัสดุตั้งต้น โดยใช้กระบวนการทางเคมีแล้วนำเม็ดพลาสติกที่ได้มาผลิตเป็นภาชนะบรรจุใหม่นั้น ไม่จำเป็นต้องประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิล แต่การรีไซเคิลพลาสติกใช้แล้วด้วยกระบวนการทางกล เช่น บด ล้าง หลอม อัดเป็นเม็ด พลาสติก เพื่อนำมาผลิตเป็นภาชนะบรรจุใหม่นั้น ต้องมาจากกระบวนการรีไซเคิลที่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพว่าสามารถกำจัดสารปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ขอรับการอนุญาตต้องส่งมอบรายงานผลการประเมินความปลอดภัย ซึ่งเป็นรายงานผลประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิล จากหน่วยประเมินความปลอดภัยตามที่ อย. กำหนดไว้ เพื่อใช้สำหรับการพิจารณาอนุญาตความเหมาะสมในการใช้งาน

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยประเมินความปลอดภัยภาชนะบรรจุอาหาร หรือภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก เพื่อรองรับการอนุญาตของ อย. ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร)  และศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดมายื่นรายงานผลประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลให้ อย. พิจารณา

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...