ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
บอร์ดอุทธรณ์สปส.แจงคืนสิทธิให้ผู้ประกันตนร่วมหมื่นราย
22 มี.ค. 2566

นายอาทิตย์ อิสโม ประธานคณะกรรมการอุทธรณ์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการอุทธรณ์ ชุดที่ 14 ของ สปส.ได้แต่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม พ.ศ.2533 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของนายจ้าง ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใด ที่ยังไม่พอใจในคำสั่งของเลขาธิการ หรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามอำนาจหน้าที่การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบคณะกรรมการ

มีผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง ในลักษณะไตรภาคี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี นั้น และในช่วงวิกฤตโควิด-19 สถานประกอบการหลายแห่งถูกปิดกิจการชั่วคราวจากมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ลูกจ้างได้รับผลกระทบ เกิดความขัดสนเรื่องการเงิน ทำให้ผู้ประกันตนหลายรายขาดส่งเงินสมทบ จึงเป็นสาเหตุให้ต้องหลุดออกจากระบบประกันสังคม ทั้งนี้ มีผู้ประกันตนได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์เข้ามาให้ สปส.พิจารณาสูงถึง จำนวน 7,786 ราย และคณะกรรมการอุทธรณ์ชุดนี้ได้มีคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นไปแล้ว จำนวน 6,610 ราย

นายอาทิตย์ กล่าวว่า ในส่วนของผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือน หรือภายใน 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ทำให้ผู้ประกันตนสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนนั้น ซึ่งตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2566 พบว่า มีผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ขาดส่งเงินสมทบและสิ้นสภาพผู้ประกันตนจำนวน 888 ราย คณะกรรมการอุทธรณ์ได้เห็นความสำคัญ จึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยปรับปรุงระเบียบข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกันตนได้มีสิทธิพึงมีพึงได้ โดยกำหนดให้เลขาธิการ สปส.สามารถให้อำนาจประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขา ใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติคืนสิทธิ์ให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ขาดส่งเงินสมทบและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 กลับมาใช้สิทธิของ สปส.ได้เหมือนเดิม

 “นอกเหนือจากคืนสิทธิ์ให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว การปรับปรุงระเบียบข้อกฎหมายของคณะกรรมการอุทธรณ์ สปส.ในครั้งนี้ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกันตนในการช่วยเหลือและสร้างหลักประกันให้แก่สมาชิกของกองทุนประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกันตนและบุคคลในครอบครัวได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีอื่นๆ ทั้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร พิการหรือทุพพลภาพ ว่างงาน ชราภาพ หรือ เสียชีวิต เป็นต้น รวมทั้งจะเป็นการขับเคลื่อนงานประกันสังคมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป” นายอาทิตย์ กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...