วันที่ 16 สิงหาคม 2566 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสารข่าว ระบุว่า วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาเรื่องพิจารณาที่ ต. 24/2566 กรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ว่า กรณีรัฐสภา (ผู้ถูกร้อง) มีมติตีความว่าการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในรอบที่ 2 เป็นญัตติทั่วไป
ต้องห้ามนำเสนอญัตติซ้ำอีกตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้อง ทั้ง 3 ได้แก่ นายพรชัย เทพปัญญา ผู้ร้องเรียนที่ 1 นายบุญส่ง ชเลธร ผู้ร้องเรียนที่ 2 และนางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สส.นนทบุรี พรรคก้าวไกล และคณะผู้ร้องที่ 3 โดยผู้ร้องที่ 1-2 กล่าวอ้างว่าไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สส.บัญชีรายชื่อ และเขตของพรรคก้าวไกล และผู้ร้องเรียนที่ 3 เป็น สส.พรรคก้าวไกล
ล่าสุดผลการพิจารณาคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย และลงมติเป็นเอกฉันท์ ตีตกคำร้องดังกล่าวโดยเห็นว่าการโหวตเลือกนายกฯ พิธา ซ้ำรอบ 2 ไม่ได้ และผู้ร้องมิได้ถูกละเมิดสิทธิ
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 46 เป็นบทบัญญัติที่มี เจตนารมณ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลจากการกระทําละเมิดโดยใช้อํานาจรัฐ แต่บุคคลที่ จะมีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง
สําหรับกระบวนการได้มา ซึ่งนายกรัฐมนตรีรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้รัฐสภาพิจารณาให้ ความเห็นชอบเฉพาะจากบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอและเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตาม มาตรา 88 เท่านั้น ดังนั้น ผู้มีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากรัฐสภาต้องเป็นผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ ตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง อันเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ก่อตั้งขึ้นเป็นหลักการใหม่ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกเหนือจากสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในหมวด เมื่อผู้ร้องเรียนทุกคนไม่ใช่บุคคลที่ พรรคการเมืองแจ้งรายชื่อไว้ว่าจะเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อต่อรัฐสภา
ผู้ร้องเรียนทุกคนจึงไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ โดยตรง ไม่อาจใช้สิทธิยื่นคําร้องเรียนได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง ประกอบมีช่องทางในการยื่นคําร้องที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะแล้ว
ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคําร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ได้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคําสั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีคําสั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณาแล้ว คําขออื่นย่อมเป็นอันตกไป