ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สสส.หนุน “ทต.ปลายพระยา” จับมืออปท. 11 แห่ง สร้างเครือข่ายสุขภาวะ-เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
27 ส.ค. 2566

สสส.สำนัก 3 หนุนเทศบาลตำบลปลายพระยา กระบี่ เป็น “ศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน” จับมือภาคีเครือข่ายอีก 11 องค์การปกครองส่วนถิ่น ลงนาม MOU ขับเคลื่อนท้องถิ่น เน้นแก้ปัญหาพื้นฐานชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชน พร้อมเป็นชุมชนเสร้างเสริมสุขภาวะบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง  

 วันที่ 26 สิงหาคม 2566 ณ ลานคนเมืองเทศบาลตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 5 ฝ่าย ประกอบด้วย นายประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส., นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่, นายสุพจน์ บุญยัง นายกเทศมนตรีตำบลปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่, นายมานะ ช่วยชู ผู้จัดการศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคใต้ (สำนัก 3) สสส. และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย 11 แห่ง ในฐานะสมาชิกเครือข่ายของเทศบาลตำบลปลายพระยา ได้แก่ อบต.คีรีวง อ.ปลายพระยา, อบต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก, อบต.อ่าวลึกเหนือ อ.อ่าวลึก, อบต.ทุ่งไทรทอง อ.ลำทับ, ทต.เขาพนม อ.เขาพนม, ทต.ทรายขาว อ.คลองท่อม, อบต.โคกยาง อ.เหนือคลอง, อบต.คลองเขม้า อ.เหนือคลอง, ทต.เหนือคลอง อ.เหนือคลอง, อบต.โคกเคียน อ.ตะกั่วป่า พังงา และ อบต.หงาว อ.เมือง ระนอง

 เนื้อหาใจความของ MOU ครั้งนี้ คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1+11 แห่งจะร่วมกันขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาพื้นฐานของชุมชน โดยมี 3 ประเด็นหลักเป็นแกน ได้แก่ 1.การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แก้ปัญหาในพื้นที่  2.การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและวัยเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ ให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข และ 3.การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่สู่ความเป็นเลิศด้านการเรียนรู้ มุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชนและประชาชนออกกำลังและเล่นกีฬา ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 นายสุพจน์ บุญยัง นายกเทศมนตรีตำบลปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ เปิดเผยว่าประสบการณ์ที่ ทต.ปลายพระยา ได้ทำงานกับสภาองค์กรชุมชนมาหลายปี เมื่อต้องมาทำงานร่วมกับ สสส. ทำให้ได้รับความหนุนเสริมในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รู้จักชุมชนมากขึ้น ช่วยทำให้แต่ละท้องถิ่นตั้งเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ว่าจะได้นำข้อมูลครัวเรือนที่เป็นต้นทุนนั้น ไปพัฒนาเรื่องอะไร เพื่อให้ตรงกับความต้องการของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้มากที่สุด นอกจากนี้ทั้ง 12 ชุมชนที่มารวมตัวกันวันนี้ ยังคาดหวังร่วมกันอีกว่าในอนาคตจะช่วยกันสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น นอกจากการสร้างตำบลสร้างเสริมสุขภาวะในด้านบริหารจัดการที่ยั่งยืน

 ด้านนายประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส. เปิดเผยว่า สสส. มีวิสัยทัศน์การทำงานชัดเจนในเรื่องการทำงานร่วมกับท้องถิ่น เพื่อหนุนเสริมการทำงาน โดยมีองค์ความรู้ เครื่องมือและกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งจะยึดความต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง เพื่อเป้าหมายให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

 ทั้งนี้สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส. มีภารกิจในการจุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลัง สนับสนุนให้เกิดการนําใช้ทุนและศักยภาพ ให้เกิดการทำงานเชื่อมประสานกันระหว่างภาคีหลักในระดับพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ กลุ่มเครือข่ายประชาชน หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานพัฒนาเอกชนที่มีปฏิบัติการในชุมชน รวมถึงสถาบันการศึกษา องค์กรอิสระหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงาน ภาคเอกชน เพื่อร่วมกันกําหนดเป้าหมายในการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชนท้องถิ่น โดยน้อมนําศาสตร์ พระราชาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น รวมถึงสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและผลักดันนโยบายสาธารณะ พร้อม ทั้งมีบทบาทในการสนับสนุนทุนและวิธีการเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

ขณะที่ นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือของทั้ง 12 พื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการรวมตัว เพื่อสร้างเป็นเครือข่าย ช่วยกันแก้ปัญหาในพื้นที่ โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแกน ประกอบการกับการใช้ต้นทุนที่มีในพื้นที่มาใช้เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งความร่วมมือดีๆ แบบนี้จะเป็นแรงหนุนให้เกิดเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ มีชุมชนที่เข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้เพิ่มมากขึ้น สามารถใช้พลังและองค์ความรู้ต่าง ๆ มาพัฒนา เมื่อมีปัญหาเข้ามากระทบก็จะสามารถเอาความรู้ที่มีมาใช้ สู้กับทุกปัญหาที่เข้ามาได้ เพราะเรามีความรู้ มีวิธีที่จะจัดการดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนของเรา ได้อย่างยั่งยืน 

ทางด้าน ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิ์พันธ์ คณะกรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชนพื้นที่ภาคใต้ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ ทต.ปลายพระยา มีความตั้งใจมากที่จะขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันไป สสส. เพราะในพื้นที่เองก็ได้ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับสภาชุมชนมาอยู่ก่อนแล้ว ส่งผลให้ทางพื้นที่เองมีควาพร้อมด้านต้นทุนการทำงานอยู่แล้วในระดับหนึ่ง รวมทั้งเครือข่ายอีก 11 องค์กรท้องถิ่นที่มาทำงานร่วมกันล้วนมีต้นทุนในพื้นที่น่าสนใจ เมื่อทั้งหมดมาทำมารวมตัวกันเพื่อทำบันทึกข้อตกลงครั้งนี้จะทำให้เกิดการถอดบทเรียน เรียนรู้และแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือทำให้พื้นที่ในชุมชนของตนเองและเครือข่ายมีความเข้มแข็งและเกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

กระบี่

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...